ข่าว ธุรกิจออนไลน์ 100%

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

กุศโลบาย

  คำว่า “กุศโลบาย” นี้ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้บัญญัติขึ้น เพื่อใช้เป็นชื่อหนังสือที่ท่านแปลจากภาษาอังกฤษ โดยต้นฉบับเดิมนั้น มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า “Strategy in handling people” ซึ่งท่านบอกว่าหากจะแปลตรงตัว ก็อาจแปลได้ว่า “กลยุทธ์ในการกุมผู้คนไว้ในมือ” อะไรทำนองนี้ ท่านเห็นว่าถ้าขืนแปลดังนี้ ก็จะมีความหมายที่ไม่ค่อยดีนัก ท่านจึงใช้คำว่า “กุศโลบาย” แทน อันมาจากคำว่า “กุศล” ผสมกับคำว่า “อุบาย” และมีความหมายว่า การใช้อุบายในทางที่ชอบ ในทางที่ควร เพื่อชนะใจ หรือผูกใจผู้อื่น 
ต่อมาได้มีผู้รวบรวมค้นคว้า และนำมาร้อยเรียงให้คล้องจองกัน เพื่อให้จำได้ง่าย โดยได้ทำไว้นานมากแล้ว สักเกือบจะยี่สิบปีได้ มีคนเอาไปพูดต่อ เอาไปเขียนต่อ กันหลายครั้งและหลายคน โดยไม่เคยอ้างอิงชื่อใครไว้เป็นเครดิต หรือให้เกียรติใครเลย ยังไงก็ตามมีผู้เขียนท่านหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "ทัต ณ.ฝั่งโขง ได้ออกมายืนยันว่า ท่านเป็นผู้รวบรวมค้นคว้ามาเขียนซ้ำเอง ...เอาเป็นว่า ต้องขอบคุณทุกท่านที่ส่งต่อสิ่งดี ๆ กันต่อๆ มาทางโซเชียล นะคะ กุศโลบาย เพื่อการชนะใจ และผูกใจคน ทั้ง 10 ประการมีดังต่อไปนี้
     1.ยิ้มแย้มนำ
     2.จำชื่อได้
     3.ให้การยอมรับ
     4.จับจิตใจเขา
     5.เราหมั่นยกย่อง
     6.สอดส่องเอาใจใส่
     7.มีน้ำใจเกื้อกูล
     8.เพียบพูนการฟัง
     9.เอ่ยอ้างที่เขาชอบ
    10.พร้อมมอบความสุข

กุศโลบาย เพื่อการชนะใจ และผูกใจคน ทั้ง 10 ประการดังกล่าว พอที่จะอธิบายได้โดยสังเขป ดังนี้ :- 
     ยิ้มแย้มนำ : นี่เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ทว่าทรงพลังมากที่สุด ความที่การยิ้มเป็นการกระทำที่ง่ายมากเกินไป หลายคนจึงนึกไม่ถึง และไม่เคยตระหนักในพลานุภาพของมัน บางคนลงทุนไปเรียนจิตวิทยา ไปศึกษาเรื่องการเจรจาต่อรอง ไปเรียนทฤษฎีเกมต่างๆ อย่างละเอียดพิสดาร แต่กลับละเลยสิ่งที่ไม่ต้องเรียนเลย แม้แต่เด็กทารกก็ทำได้ แค่ขยับกล้ามเนื้อไม่กี่ก้อนบนใบหน้า ก็อาจชนะใจคนได้แล้ว ฝึกเป็นคนยิ้มง่าย และฝึกเป็นฝ่ายยิ้มก่อนเถิดค่ะ แล้วเราจะประหลาดใจในผลที่เกิดขึ้น 

วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557

ไทม์แชร์ริ่งกับคดีฉ้อโกงประชาชน


(โดย นายเดชา กิตติวิทยานันท์
ประธานเครือข่ายทนายคลายทุกข์)
จากกรณีที่สคบ.จะจัดทำข้อกฎหมายเกี่ยวกับควบคุมธุรกิจให้บริการพักผ่อนหรือท่องเที่ยวล่วงหน้าระยะยาว (ไทม์แชร์) ให้เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาของ สคบ. หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบการที่ชักจูงให้ชำระเงินค่าห้องพักของโรงแรมและรีสอร์ทต่าง ๆ ล่วงหน้า แต่เมื่อต้องการเข้าพักกลับไม่มีห้องพักให้ เข้าข่ายหลอกลวงอย่างแท้จริง
ทนายคลายทุกข์ขอนำกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีธุรกิจขายตรงหรือเจ้าของโรงแรมรีสอร์ทที่ทำธุรกิจบังหน้า แต่เบื้องหลังคือการระดมทุนหลอกลวงประชาชน ทุกวันนี้นับวันจะมากขึ้น ตัวผมเองเคยทำคดีประเภทแชร์ลูกโซ่มาหลายคดี จึงขอให้คำแนะนำในการสังเกตธุรกิจไทม์แชร์ริ่งหรือแชร์ลูกโซ่ เป็นข้อๆ ดังนี้
1.สำนักงานจะหรูหรา ส่วนใหญ่นิยมใช้อาคารสูง โดยเฉพาะย่านรัชดาภิเษก สีลม เป็นต้น
2.จะมีห้องประชุมจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการต้มตุ๋นหลอกลวงประชาชน ผิดวิสัยของธุรกิจทั่วไปที่มีห้องประชุมเพียงห้องเดียวหรือสองห้องเท่านั้น
3.พนักงานทั้งบริษัทจะใส่สูท ผูกเทคไท ทาน้ำมันใส่ผมดูแล้วเนี๊ยบ ผิดวิสัยจากธุรกิจทั่วไป พนักงานทั่วไปจะไม่ใส่สูท จะใส่สูทเฉพาะผู้บริหารเท่านั้น แต่พวกนี้จะใส่สูททั้งบริษัทเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือและมีระดับ
4.ทุกคนจะพบนามบัตรที่มีลักษณะแปลก ๆ เว่อร์ๆ เช่น มีรูปรถเบนซ์อยู่ในนามบัตร และระบุตำแหน่งตัวเองว่าเป็นกรรมการหรือ ผอ. หรือผจก. ดูแล้วใหญ่มีระดับ ทั้งที่เป็นเรื่องโกหกทั้งสิ้น
5.เวลาสนทนาด้วยจะพูดถึงเรื่องเงินเป็นหลัก เช่น พูดว่าเมื่อเคยขับแท็กซี่ เดี๋ยวนี้มีรายได้เดือนละล้าน แค่ตัดสินใจเอาเงินมาลงทุน ชั่วข้ามคืนรวยในพริบตา
6.อยู่เฉย ๆ ก็รวยได้ เป็นคำพูดของพวกต้มตุ๋นเหล่านี้ เพียงแต่คุณไปหลอกลวงต้มตุ๋น ญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดมาให้พวกเราเชือด แค่นี้ก็รวยแล้ว (ตายไปแล้วจะไปอยู่ในนรกขุมไหนนั่นอีกเรื่องหนึ่ง)
7.จะพกภาพถ่ายบ้านหลังใหญ่ราคาหลายล้าน รวมทั้งภาพการเดินทางไปท่องเที่ยวทั่วโลก แสดงถึงความมั่งคั่ง เพื่อยั่วกิเลสเหยื่อที่ถูกเชิญมาฟังบรรยาย หากงับเบ็ด ก็เสียเงินทันที
8.จะจ้างพวกพูดเก่ง ๆ พูดแล้วแม้กระทั่งลิงยังหลับตกต้นไม้ บริการหรือสินค้าไม่ค่อยพูดถึง พูดแต่เพียงว่าคุณรวยแน่ เพียงแค่ตัดสินใจจ่ายเงินในวันนี้เพื่อเป็นสมาชิกกับเรา บริษัทพวกนี้มันจะจ้างพวกฝีปากดี กล่อมอยู่หมัดและบังคับให้ตัดสินใจทันที ไม่มีเวลาตั้งตัว มารู้อีกทีก็หมดตัวไปแล้ว
9.สินค้าและบริการจะแพงเกินเหตุ สูงกว่าราคาสินค้าจริง อาจจะ 100-200% อันเป็นการหลอกลวงประชาชน
10.ไม่เน้นการขายสินค้าหรือบริการเน้นหลอกลวงเก็บเงินอย่างเดียว
11.แอบอ้างคนดังเป็นเจ้าของหรือคนดังมาร่วมธุรกิจด้วยหรือแอบอ้างชื่อโรงแรมขนาดใหญ่ ฟังดูแล้วโก้ เช่น ชื่อคล้ายกับแหล่งท่องเที่ยวในเมดิเตอร์เรเนี่ยน หรือรีสอร์ทหรูระดับโลก ลูกค้าฟังแล้วเคลิ้มต้องรับตัดสินใจเสียเงินให้คนพวกนี้
ตัวบทกฎหมายที่จะจับพวกนี้เข้าคุกหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย
***พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527***
มาตรา 4 ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงิน ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงิน ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดำเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำเนินการโฆษณา ประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุน โดย
(1) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ
(2) เก็งกำไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย
มาตรา 5 ผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้
(1) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน
(ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ
(ข) ดำเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ
(ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ
(ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ
(จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกินสิบคนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ
(2) ผู้นั้น
(ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน จะพึงจ่ายได้ หรือ
มาตรา 12 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่


ข่าวเกี่ยวข้อง