ข่าว ธุรกิจออนไลน์ 100%

วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2561

รวม 7 พื้นที่ฟรีๆ สำหรับเขียน Blog พร้อมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของแต่ละตัว



ในยุคที่หลายคนเริ่มนิยามคำว่า Blogger เป็นอาชีพ จึงเริ่มมีบางท่านมองหาช่องทางในการทำอาชีพนี้ ซึ่งกำแพงแรกที่ต้องเจอคือใช้พื้นที่ไหนเขียน Blog ดีหล่ะ ในเมื่อไม่ได้มีความรู้ในเรื่อง technical มากนัก จะลุยเขียนเว็บเองก็คงใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะได้เขียน Blog กัน สมัยนี้มีทางเลือกมากมายในการเขียน Blog แค่สมัครสมาชิกก็สามารถใช้งานได้ทันที ที่สำคัญคือฟรีด้วย แต่ถ้าอยากได้ชื่อ Domain เป็นของตัวเองก็ต้องเข้าไปจ่ายเงินอีกที เอาเป็นว่าขอให้มีระบบสำหรับเขียนก่อน ทางเลือกมากมายที่ว่าก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ลองมาดูว่าแบบไหนที่เหมาะสมกับงานของเรามากที่สุด

storylog.co เป็นพื้นที่สำหรับเขียน Blog ที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และมีคนดังๆ หลายคนเลือกใช้ เป็นเว็บที่เน้นเล่าเรื่องง่ายๆ เขียนเร็วๆ สามารถเขียนบนสมาร์ทโฟนได้สบายมาก ใช้งานง่ายมาก เรียกว่าใครใช้ Microsoft Word ได้ ก็ใช้ storylog ได้แบบชิวๆ
ด้านในเว็บของ storylog.co เองก็จะมี Community เล็กๆ สามารถกด Follow เพื่อติดตามบทความของคนที่เราชอบได้ และสามารถไปแสดงความคิดเห็นในบทความของคนอื่นได้
ข้อดี :
  • ใช้งานง่ายมาก ง่ายตั้งแต่การสมัครยันเขียนเลยทีเดียว
  • เว็บไซต์สวยงาม สบายตา ตัวหนังสืออ่านง่าย
  • เขียนบนสมาร์ทโฟนได้ แถมยังมีแอพให้ใช้งานทั้ง iOS และ Android
  • ผู้พัฒนาเป็นคนไทย เมื่อมีข้อสงสัยหรืออยากแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ทันที

ข้อเสีย : 
  • เครื่องมือการใช้งานน้อยมาก
  • อัพรูปภาพได้แค่รูปเดียวคือรูป Cover ของบทความเท่านั้น
  • จัดหน้าตาได้ไม่เยอะมากนัก ทำให้บทความยังไม่มีความโดดเด่น

wordpress.com พื้นที่สำหรับการทำเว็บไซต์ฟรี โดยระบบข้างหลังบ้านจะใช้เป็น WordPress สำหรับมือใหม่อาจจะต้องเรียนรู้การใช้งานเว็บไซต์เล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับซับซ้อนมากนัก ระบบค่อนข้างเสถียรและ SEO ค่อนข้างดี
โดยเราจะใช้พื้นที่ฟรีบน WordPress.com ที่เค้าตั้งค่ามาให้ทุกอย่างแล้วสามารถใช้งานได้ทันทีหลังจากสมัคร โดยชื่อเว็บไซต์จะเป็นชื่อที่เราต้องการ ตามด้วย .wordpress.com เช่น Nokkaew.wordpress.com ถ้าเราต้องการชื่อ Domain เป็นของตัวเอง หรือติดตั้ง Plugin เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่ม ก็ต้องจ่ายตังเล็กน้อยเป็นรายปี
ข้อดี :
  • ได้ใช้งานระบบเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมระดับโลก
  • SEO ค่อนข้างดี ติดหน้าแรกบน Google ได้ง่าย
  • ระบบเบื้องต้นให้มาค่อนข้างครบ
  • มีผู้ใช้งานเยอะมาก เมื่อติดปัญหาสามารถค้นหาทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

ข้อเสีย : 
  • มีอาการโหลดช้าบ้างเป็นบางครั้ง
  • สำหรับผู้ที่อยาก Advance ต้องจ่ายเงินถึงทำได้ แนะนำโหลด WordPress.org มาติดตั้งบน Server เช่าดีกว่า
  • ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้สักพักหนึ่งถึงจะใช้งานได้คล่อง
Website : wordpress.com

Bloggang.com ระบบเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาสำหรับใช้งานเป็น Blog โดยเฉพาะ ซึ่งคนทำก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ทีมงาน pantip.com นั่นเอง ระบบอาจจะดูเก่าไปบ้างเพราะก็ทำมานานมากแล้ว (แต่เห็นว่าแอบซุ่มทำ Version ใหม่อยู่นะ) แต่ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่นะ
ระบบข้างในจะค่อนข้างเป็นสังคมของ Blogger อย่างชัดเจน แต่ละบทความสมาชิกข้างในจะเข้ามาเห็น และผู้เขียนแต่ละคนก็จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เขียนท่านอื่นอย่างต่อเนื่อง เหมือนเป็นเพื่อนบ้านกัน
ข้อดี :
  • มีสังคมจากผู้ใช้งาน Bloggang.com ด้วยกัน
  • มีโอกาสที่ pantip.com จะนำไปโปรโมทด้วย
ข้อเสีย : 
  • ระบบค่อนข้างเก่าแล้ว
  • ใช้งานค่อนข้างยาก
Website : Bloggang.com
Blogger.com พื้นที่สำหรับเขียน Blog จากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเขียนบน Blogger.com บทความของคุณจะมี SEO ที่ดี๊ดี ติดอยู่หน้าแรกง่ายและไวมาก ใช้ง่านได้ค่อนข้างครบ ระบบฝากรูปดีมากๆ (ก็แหงละ ระดับ Google นี่นะ)
ข้อดี :
  • SEO ดีงามมาก
  • ระบบหลังบ้านค่อนข้างครบและดีมากๆ
  • หน้าแสดงผลสวยงามแบบไม่ต้องจัดอะไรมาก
ข้อเสีย : 
  • ระบบไม่มีอะไรให้ใช้แบบ Advance มากนัก
Website : Blogger.com

medium.com



medium.com ระบบเว็บไซต์สำหรับเขียน Blog ที่เน้นเร็ว และง่าย สมัครแล้วสามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้องเรียนรู้เยอะ ผู้ก่อตั้งคือ Evan Williams ผู้สร้าง Twitter นั่นเอง ซึ่งยังคงคอนเซปต์ความเร็วและความง่ายเช่นเดิม
ข้อดี :
  • ระบบใช้งานง่าย
  • เครื่องมือพื้นฐานค่อนข้างครบ
  • เว็บไซต์โหลดเร็วมาก
  • ใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้สะดวกดี เขียนแบบเร็วๆ ได้สบาย
  • มีระบบ Community ภายในเว็บไซต์
ข้อเสีย : 
  • ไม่สามารถปรับหน้าตาได้มากนัก บทความอาจจะขาดความโดดเด่นไปบ้าง
Website : medium.com

Facebook.com

facebook.com เดี๋ยวนี้ fanpage เป็นช่องทางการสื่อสารที่ขาดไม่ได้เลย หลายคนเข้าเว็บไซต์ผ่านทาง fanpage แทบทั้งนั้น และทุกวันนี้แค่มี fanpage อย่างเดียวก็ทำอะไรหลายอย่างได้แล้วนะครับ เพราะพี่แกก็รองรับทั้งอัลบั้มภาพ โพสต์ข้อความ รวมไปถึงวิดีโอ fanpage จึงเป็นช่องทางที่สื่อสารง่าย และทุกคนก็คงใช้เป็นกันอยู่แล้วหล่ะ
ข้อดี :
  • ระบบใช้งานง่าย
  • รองรับครบทุก Media ในปัจจุบัน รวมถึง Live ที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
  • จัดการผ่านแอพได้สะดวกมาก
  • เป็นสื่อที่คนไทยเข้าถึงมากที่สุด
ข้อเสีย : 
  • โพสต์และวิดีโอต่างๆ แทบจะไม่ติดอยู่บน Google
  • Feed เคลื่อนเร็ว และค้นหาโพสต์เก่าๆ ได้ยาก
Website : facebook.com
Facebook Notes เป็นฟีเจอร์ของ facebook ที่ดีมากๆ แต่หลายคนยังไม่ทราบ ระบบของ Facebook Note จะคล้ายกับเป็นโพสต์แบบ Advance สามารถใส่ข้อความตัวหนาตัวเอียง ใส่ภาพ ฝังลิงค์ได้ และใช้งานง่ายมากๆ
สำหรับ Notes จะเป็นเหมือนกับไดอารี่ส่วนตัวมากกว่า เพราะบทความจะผูกกับ Account ของเราเท่านั้น คนที่เห็นจึงมักจะเป็นเพื่อนเราซะส่วนใหญ่ ซึ่งเราสามารถตั้งค่า Privacy ได้ว่าอยากจะให้ใครเห็นบ้าง คล้ายกับโพสต์บน Facebook เลย
ข้อดี :
  • ระบบใช้งานง่าย และสวยงาม
  • สามารถดึงรูปมาจากอัลบั้มบน Facebook ได้เลย
ข้อเสีย : 
  • โพสต์และวิดีโอต่างๆ แทบจะไม่ติดอยู่บน Google
  • Notes จะติดอยู่กับ Account ของเรา คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาเจอจะเป็นเฉพาะเพื่อนหรือผู้ที่ติดตามเราเท่านั้น
Website : Facebook Notes

สรุปการเลือกใช้งาน

  • ทุกวันนี้เครื่องมือมีเยอะมาก และเมื่อเราเลือกไปแล้วเราจะติดอยู่กับ Platform นั้นไปอีกยาว จึงควรคิดให้ดีก่อนเลือกสักตัวมาใช้
  • ควรคำนึงถึง SEO ด้วย ไม่เช่นนั้นบทความเราจะไม่มีคนเห็น หรือจะมีคนเห็นแค่ช่วงเดียวแล้วหายไป
  • ควรมีเพื่อนๆ รอบตัวที่ใช้เครื่องมือตัวเดียวกัน จะได้มีคนที่เราสามารถปรึกษาได้ด้วย
***************************************************************
ถ้าหากคุณกำลังมองหาโอกาสการสร้างธุรกิจจากที่บ้านของคุณเอง
และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะก้าวสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง
ดิฉันและทีมงานทุกคนขอยินดีต้อนรับคุณสู่ครอบครัวเดียวกับเรา

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติของบุคคลที่ดิฉันกำลังมองหาเพื่อร่วมงานกับดิฉัน
1  มีความสนใจในธุรกิจSocial Marketing และปรารถนาที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
2. ปรารถนาความสำเร็จอย่างแรงกล้าในการทำธุรกิจและพร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมๆกัน
3. มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น
4. จริงจังในการทำงานและยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยวิธีการเดียวกันกับที่คุณได้เรียนรู้
5.สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอเน็ต ได้เป็นอย่างดี


ถ้าหากคุณมีคุณสมบัติทั้งหมดนี้อยู่ในตัวเอง 
ดิฉันขอแสดงความยินดีด้วย เพราะคุณคือคนที่โชคดีที่จะได้ทำงานร่วมกับดิฉันและทีมงานคุณภาพของดิฉัน
ซึ่งในการทำงานคุณจะได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างธุรกิจ Social Marketing ได้อย่างยั่งยืน
และคุณจะได้รับการสอนวิธีการทุกอย่างที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจ

ถ้าหากคุณมีความพร้อมและมีคุณบัติตามที่กล่าวมา
รับข้อมูลเพิ่มเติมแอดไลน์ ดิฉันเลยค่ะ

Supports( [ติดต่อสอบถาม) 

โทรสอบถามรายละเอียดได้
ที่ 089-707-2874
วารีนา ปุญญาวัณน์
ข้อมูลเพิ่มเติมแอดไลน์ เลยค่ะ หรือลงทะเบียนที่นี่เลยค่ะ


หรือแอดFacebook ที่นี่ค่ะ

แอดขอรับข้อมูลดีๆ
เพิ่มเพื่อน

4 ความผิดพลาด ที่อาจเกิดขึ้นในการทำ Content Strategy


ในปี 2018 นี้การทำ Content นั้นก็ยังมีส่วนสำคัญอย่างมาก เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าไปใช้ชีวิตและบริโภคข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจผ่านข้อมูลที่ผ่านช่องทางออนไลน์หมดแล้ว และการที่จะทำให้คนนั้นเห็นข้อมูลที่จะทำให้เลือกแบรนด์หรือสินค้ากับบริการของนักการตลาดเองนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า สร้างเนื้อหาให้น่าสนใจและตรงกับการที่ระบบ Platform แต่ละอย่างจะเลือกมาแสดงหรือไม่นั้นเอง
content-marketing
การสร้าง Content ที่ดี ไม่ใช่แค่เรื่องการเขียนที่ดีอย่างเดียว แต่มีปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้การทำ Content กับการทำ Content Marketing นั้นไม่เหมือนกัน เพราะ การทำ Content Marketing นั้น เนื้อหาต้องสามารถตอบโจทย์ทางการตลาดได้นั้นเอง ดังนั้นเพื่อที่จะตอบโจทย์ทางการตลาดได้ถูกต้องนั้นต้องมีการวางแผนล่วงหน้าขึ้นมา ซึ่งทำให้การทำ Content Strategy เป็นเรื่องสำคัญขึ้นมาในการทำ  Content marketing ทันที และหลาย ๆ ครั้งนักการตลาดก็ทำ Content Strategy อย่างผิดพลาด จนทำให้ Content ที่วางมานั้นไม่ได้ผล ซึ่งนี้คือข้อผิดพลาด 4 ข้อที่นักการตลาดมักผิดพลาดเวลาทำ Content Strategy
  1. ทำ Content พูดถึงแบรนด์มากไป : ผู้บริโภคไม่ได้แค่ในตัวคุณและไม่ได้สนใจว่าคุณเป็นใคร ผู้บริโภคนั้นสนใจแต่ตัวเองและเรื่องที่ตัวเองสนใจเท่านั้น ทำให้นักการตลาดหลาย ๆ คนนั้นหลงลืมไปอย่างมากเวลาที่จะสื่อสารกับผู้บริโภค โดยการพูดแต่ข้อดีหรือความดีของตัวเอง โดยไม่ได้สนใจว่าผู้บริโภคอยากจะรู้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ลองนึกถึงเวลาไปเจอคนที่เอาแต่พูดเรื่องของตัวเอง โดยไม่ได้สนใจว่าเราอยากฟังหรือไม่ หรือกำลังมีปัญหาอะไร ซึ่งแน่นอนเราเป็นคนฟังย่อมเกิดอาการเบื่อหน่ายและไม่อยากจะคุยหรือปฏิสัมพันธ์ต่ออย่างแน่นอน ทั้งนี้เพื่อที่นักการตลาดจะสามารถทำให้ Content ของตัวเองดีได้ การวางกลยุทธ์ที่จะพูดเรื่องที่คนฟังอยากฟังนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก การพูดถึงความเข้าใจในความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อพูดในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการแล้ว จึงค่อยนำเสนอสิ่งที่นักการตลาดอยากจะบอกว่า จะไปช่วยแก้ปัญหาอย่างไร

five-steps-to-fast-track-your-content-strategy-5-728
2. ไม่ปรับเนื้อหาของตัวเอง : ปัญหานี้เป็นปัญหาที่คลาสสิกอย่างมากที่เกิดขึ้นการทำ Content Marketing ทั้งหมด นั้นคือการใช้เนื้อหาเดียวกันไปเผยแพร่ทุกช่องทางทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น PR, Social Media   ไม่ว่าจะ Facebook, Instagram และ Twitter จนถึงหน้าเว็บไซต์และอีเมล์ของตัวเอง ปัญหานี้เกิดขึ้นเป็นประจำเมื่อนักการตลาดไม่มีงบประมาณในการทำ Content Marketing อย่างเหมาะสม หรือไม่เข้าใจในการทำ Digital Marketing  นั้นเอง ลองนึกถึงพฤติกรรมในช่องทางออนไลน์ในแต่ละแบบ ก็มีพฤติกรรมและการบริโภคเนื้อหาในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น Facebook โพสได้ยาวไม่จำกัด แต่ Twitter มีการจำกัดตัวอักษร ซึ่งการใช้เนื้อหาเดียวโพสแบบเดียวไปยังทุกช่องทางนั้น ทำให้กลยุทธ์การทำ Content ที่วางมานั้นไม่สามารถเกิดได้อย่างแน่นอน ทางแก้ที่ดีคือนักการตลาดนั้นต้องเข้าใจในเครื่องมือที่จะใช้แต่ละอัน ธรรมชาติของเครื่องมือ และปรับการสื่อสารของเนื้อหาของตัวเองให้เข้ากับธรรมชาติของแต่ละเครื่องมือนั้น ๆ
3. ไม่เข้าใจ Consumer  Journey : การสร้าง Content Marketing ที่ดีคือการเข้าใจว่า Journey ของ Consumer นั้นเป็นอย่างไร และวาง Content Strategy ของตัวเองให้สามารถจับกับ Consumer Journey นั้นได้ โดยการสร้างเนื้อหาให้ตรงกับช่วงแต่ละ Stage ของ Consumer Journey นั้น ๆ หรือสร้างเนื้อหาที่รองรับความต้องการในแต่ละช่วงของ Consumer นั้นเอง การสร้างเนื้อหาขึ้นมา ไม่ว่าจะดีแค่ไหน แต่ไม่สามารถเข้าไปตอบแต่ละช่วงของ Consumer Journey ได้นั้นก็ไร้ประโยชน์ ทั้งนี้นักการตลาดควรต้องหาให้ได้ผู้บรฺโภคของตัวเองมีการเดินทางอย่างไรในช่องทางสื่อ และต้องการเนื้อหาหรือ Content แบบไหนที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหาในแต่ละขั้นที่เกิดขึ้น เนื้อหาที่สร้างช่วยให้ข้อมูลหรือช่วยทำให้เกิดการซื้อในช่วงเวลาและจังหวะที่เหมาะหรือไม่
Screen-Shot-2559-09-09-at-8.51.07-PM
4. โพสมากไป หรือน้อยไป : จำนวนการโพสนั้นเป็นเรื่องสำคัญ นักการตลาดหลาย ๆ คนมักชอบคิดว่าการโพสจำนวนมาก ๆ นั้นดีต่อการตลาดของตัวเอง แต่เอาเข้าจริงแล้วการโพสมากไปไม่ได้ช่วยให้เกิดผลที่ดี หนำซ้ำอาจจะเกิดผลที่แย่กว่าที่กลุ่มเป้าหมายจะมองว่าเป็นการทำ spam หรือการโพสที่น่ารำคาญจนไม่อยากติดตามไป เพราะแบรนด์นั้นไม่เหมือนสื่ออื่น ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายอยากติดตาม ทีนี้จะโพสน้อยลง การโพสน้อยเกินไปก็มีปัญหาอีก เพราะทำให้กลุ่มเป้าหมายคิดว่าแบรนด์นี้ไม่ active หรือไม่ได้สนใจที่อยากจะคุยกับกลุ่มเป้าหมายหรือสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้เกิดความคิดว่าไม่ควรมาตามเพราะไม่มีอะไรให้ติดตามอีก ดังนั้นนักการตลาดควรต้องมองหาดี ๆ ว่าจะทำการโพสเนื้อหาจำนวนมากน้อยแค่ไหน ที่จะไม่ทำให้ผู้บริโภครำคาญและไม่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าไม่ Active ซึ่งคำแนะนำของผู้เขียนนั้นจะอยู่ที่ 10-15 ครั้งต่อเดือนกำลังดีใน Social และ 2-4  ครั้งสำหรับ website

แอดขอรับข้อมูลดีๆ
เพิ่มเพื่อน