ข่าว ธุรกิจออนไลน์ 100%

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

จุดจบแฟนเพจ? ขายของบน ‘Social’ ต้องทำอย่างไร เมื่อ Facebook หั่น Reach เหลือ 0%

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีสิ่งไหนจีรังยั่งยืน ทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
แม้แต่ทฤษฎีบางอย่างก็ยังถูกลบล้างด้วยการค้นพบใหม่ ๆ แม้แต่ช่องทางที่คิดว่าสามารถทำเงินให้กับธุรกิจก็ยังซบเซา เครื่องมือบางอย่างสามารถทำยอดให้ขายให้ธุรกิจมากมาย กลับกลายเป็นช่องทางที่ต้องทบทวนกันอีกครั้ง ว่าเราจะทุ่มเทพลังและทรัพยากรทั้งหมดไปกับ 1 เครื่องมือ ที่มันไม่สามารถควบคุมได้หรือเปล่า?
ในกรณีนี้ ผมกำลังพูดถึง Facebook ที่ออกมาประกาศปรับ อัลกอริธึม (Algorithm) หรือค่าการแสดงข้อมูลบน News feed อย่างเป็นทางการ และกำลังเป็นข่าวดังไปทั่วโลกเมื่อปลายเดือน มิถุนายน 2016 ที่ผ่านมา
“เราสร้าง FACEBOOK มาเพื่อเชื่อมต่อกับผู้คนบนโลกออนไลน์ เพื่อนและครอบครัว ฟีดข่าวที่เราส่งไปนั้นยังคงใช้หลักการนี้ ลำดับความสำคัญหลักของเราคือเชื่อมต่อกับผู้คน สถานที่ และสิ่งที่ผู้คนต้องการ เริ่มต้นจากเพื่อนในเฟซบุ๊ค”

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

50 ปีแห่ง “กฎของมัวร์” หลักการเบื้องหลังการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง

 



กอร์ดอน มัวร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล ได้กล่าวไว้เมื่อปี 2508 หรือสามปีก่อนการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ว่าทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญของชิปประมวลผลและทุกสิ่งทุกอย่างในโลกยุคดิจิทัล จะมีราคาถูกลงควบคู่ไปกับประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในขณะนั้น เขาคาดไม่ถึงเลยว่าแนวคิดนี้จะเข้ามาปฏิวัติวงการเทคโนโลยีตลอดช่วงเวลา 50 ปีต่อมา จนกระทั่งกลายเป็นที่รู้จักในนามว่า กฎของมัวร์” (Moore’s Law)
รถยนต์:
ถ้ารถยนต์มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยอัตราเดียวกันกับกฎของมัวร์ เราก็คงสามารถขับรถสักคันได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องเติมน้ำมันอีกเลย และถ้าคุณเพิ่งจะซื้อรถคันใหม่ในวัย 40 ต้นๆ คุณก็คงจะใช้น้ำมันไม่ถึง ¼ ถังด้วยซ้ำ
·         หากรถยนต์มีขนาดเล็กลงด้วยอัตราเดียวกันกับทรานซิสเตอร์ รถของคุณในวันนี้ก็จะมีขนาดเท่ากับมด แถมยังเก็บยางอะไหล่ไว้ในกระเป๋าเสื้อคุณได้อีกหลายเส้น
อสังหาริมทรัพย์:
·         ถ้าราคาของตึกระฟ้าทั้งหลายลดลงด้วยอัตราเดียวกันกับกฎของมัวร์ เราจะสามารถเป็นเจ้าของอาคารสูงเสียดฟ้าได้ ในราคาที่ถูกกว่าคอมพิวเตอร์พีซีหนึ่งเครื่อง ด้วยราคาแบบนี้ ใครหลายคนก็คงอยากมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตัวเองไว้บนห้องเพ้นท์เฮาส์บนยอดตึกเลยทีเดียว ส่วนถ้าอาคารเหล่านี้มีความสูงที่เพิ่มขึ้นตามกฎของมัวร์ไปด้วย จะทำให้มีความสูงราว 35 เท่าของยอดเขาเอเวอเรสต์
·         ถ้าราคาบ้านพักอาศัยลดลงที่อัตราเดียวกัน เราก็สามารถซื้อบ้านใหม่ได้ในราคาที่เท่ากับลูกอมเม็ดเดียวเท่านั้น!
การเดินทางทางอากาศ:
·         โครงการอพอลโลใช้งบประมาณกว่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ถ้าราคาของเทคโนโลยีทุกประเภทลดลงตามกฎของมัวร์ โครงการนี้จะมีราคาในปัจจุบันเท่ากับเครื่องบินส่วนตัวลำเล็กหนึ่งลำเท่านั้น
·         เมื่อปี 2512 นักบินอวกาศใช้เวลาเดินทางไปดวงจันทร์สามวันเต็ม หากความเร็วนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของมัวร์ เส้นทางนี้จะกินเวลาเพียงหนึ่งนาทีเท่านั้นในปัจจุบัน
·         ถ้าคุณต้องบินจากนิวซีแลนด์ไปนิวยอร์ค เครื่องของคุณจะเดินทางถึงที่หมายภายในระยะเวลาที่คุณนั่งลงแล้วรัดเข็มขัดนิรภัย ไม่เหลือเวลาให้คุณได้นั่งทานขนมระหว่างทางเลย
อุปกรณ์ไอทีต่างๆ ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้มีชิปประมวลผลเป็นหัวใจหลัก ซึ่งชิปเหล่านี้ก็สร้างมาจากทรานซิสเตอร์นั่นเอง กฎของมัวร์ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาที่ถูกลง ควบคู่ไปกับสมรรถนะและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ของใช้อย่างโทรศัพท์และนาฬิกาได้พัฒนาจนกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะไปแล้ว ขณะที่รถยนต์ก็เป็นเสมือนคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่
·         ถ้าสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ใช้ชิปของอินเทลย้อนกลับไปใช้เทคโนโลยีจากปี 2514      ชิปประมวลผลของสมาร์ทโฟนเครื่องนี้จะมีขนาดเท่ากับช่องจอดรถหนึ่งคัน และการถ่ายเซลฟี่คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
·         เมื่อเทียบกับชิปประมวลผล อินเทล® 4004 ซึ่งเป็นชิปรุ่นแรกของอินเทล จะพบว่าชิปเทคโนโลยี 14 นาโนเมตร ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงกว่าถึง 3,500 เท่า ใช้พลังงานคุ้มค่ากว่า 90,000 เท่า และมีราคาถูกกว่าถึง 60,000 เท่า
อย่างไรก็ดี กฎของมัวร์ไม่ใช่กฎที่เป็นไปตามธรรมชาติ หากแต่เป็นเป้าหมายที่เราต้องรวมพลังกันเพื่อก้าวไปให้ถึง ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถเอาชนะอุปสรรคทางฟิสิกส์ให้ได้ ทุกวันนี้ อินเทลสามารถผลิตทรานซิสเตอร์ได้มากถึง 10,000 ล้านตัวในทุกๆ วินาที เพื่อสร้างเป็นชิปที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์อันสุดมหัศจรรย์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้นับพันล้านคนทั่วโลก
·         ทรานซิสเตอร์ในยุคแรกมีขนาดเท่ากับยางลบที่ปลายดินสอ แต่ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีภายใต้กฎของมัวร์ เราจึงสามารถจัดวางทรานซิสเตอร์แบบไทร-เกต (tri-gate) กว่า 6 ล้านตัวไว้ในพื้นที่เท่ากับจุดเพียงจุดเดียวบนหน้ากระดาษ
·         ปัจจุบันนี้ ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กมากจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยหากขยายให้ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวสามารถมองเห็นได้ ขนาดของชิปประมวลผลก็จะใหญ่เท่ากับบ้านหนึ่งหลังเลยทีเดียว