ข่าว ธุรกิจออนไลน์ 100%

วันอังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2560

50 ปีแห่ง “กฎของมัวร์” หลักการเบื้องหลังการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง

 



กอร์ดอน มัวร์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งอินเทล ได้กล่าวไว้เมื่อปี 2508 หรือสามปีก่อนการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ว่าทรานซิสเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญของชิปประมวลผลและทุกสิ่งทุกอย่างในโลกยุคดิจิทัล จะมีราคาถูกลงควบคู่ไปกับประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในขณะนั้น เขาคาดไม่ถึงเลยว่าแนวคิดนี้จะเข้ามาปฏิวัติวงการเทคโนโลยีตลอดช่วงเวลา 50 ปีต่อมา จนกระทั่งกลายเป็นที่รู้จักในนามว่า กฎของมัวร์” (Moore’s Law)
รถยนต์:
ถ้ารถยนต์มีประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยอัตราเดียวกันกับกฎของมัวร์ เราก็คงสามารถขับรถสักคันได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องเติมน้ำมันอีกเลย และถ้าคุณเพิ่งจะซื้อรถคันใหม่ในวัย 40 ต้นๆ คุณก็คงจะใช้น้ำมันไม่ถึง ¼ ถังด้วยซ้ำ
·         หากรถยนต์มีขนาดเล็กลงด้วยอัตราเดียวกันกับทรานซิสเตอร์ รถของคุณในวันนี้ก็จะมีขนาดเท่ากับมด แถมยังเก็บยางอะไหล่ไว้ในกระเป๋าเสื้อคุณได้อีกหลายเส้น
อสังหาริมทรัพย์:
·         ถ้าราคาของตึกระฟ้าทั้งหลายลดลงด้วยอัตราเดียวกันกับกฎของมัวร์ เราจะสามารถเป็นเจ้าของอาคารสูงเสียดฟ้าได้ ในราคาที่ถูกกว่าคอมพิวเตอร์พีซีหนึ่งเครื่อง ด้วยราคาแบบนี้ ใครหลายคนก็คงอยากมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตัวเองไว้บนห้องเพ้นท์เฮาส์บนยอดตึกเลยทีเดียว ส่วนถ้าอาคารเหล่านี้มีความสูงที่เพิ่มขึ้นตามกฎของมัวร์ไปด้วย จะทำให้มีความสูงราว 35 เท่าของยอดเขาเอเวอเรสต์
·         ถ้าราคาบ้านพักอาศัยลดลงที่อัตราเดียวกัน เราก็สามารถซื้อบ้านใหม่ได้ในราคาที่เท่ากับลูกอมเม็ดเดียวเท่านั้น!
การเดินทางทางอากาศ:
·         โครงการอพอลโลใช้งบประมาณกว่า 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ถ้าราคาของเทคโนโลยีทุกประเภทลดลงตามกฎของมัวร์ โครงการนี้จะมีราคาในปัจจุบันเท่ากับเครื่องบินส่วนตัวลำเล็กหนึ่งลำเท่านั้น
·         เมื่อปี 2512 นักบินอวกาศใช้เวลาเดินทางไปดวงจันทร์สามวันเต็ม หากความเร็วนี้เปลี่ยนแปลงไปตามกฎของมัวร์ เส้นทางนี้จะกินเวลาเพียงหนึ่งนาทีเท่านั้นในปัจจุบัน
·         ถ้าคุณต้องบินจากนิวซีแลนด์ไปนิวยอร์ค เครื่องของคุณจะเดินทางถึงที่หมายภายในระยะเวลาที่คุณนั่งลงแล้วรัดเข็มขัดนิรภัย ไม่เหลือเวลาให้คุณได้นั่งทานขนมระหว่างทางเลย
อุปกรณ์ไอทีต่างๆ ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้มีชิปประมวลผลเป็นหัวใจหลัก ซึ่งชิปเหล่านี้ก็สร้างมาจากทรานซิสเตอร์นั่นเอง กฎของมัวร์ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้มีราคาที่ถูกลง ควบคู่ไปกับสมรรถนะและการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน ของใช้อย่างโทรศัพท์และนาฬิกาได้พัฒนาจนกลายเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะไปแล้ว ขณะที่รถยนต์ก็เป็นเสมือนคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่
·         ถ้าสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่ใช้ชิปของอินเทลย้อนกลับไปใช้เทคโนโลยีจากปี 2514      ชิปประมวลผลของสมาร์ทโฟนเครื่องนี้จะมีขนาดเท่ากับช่องจอดรถหนึ่งคัน และการถ่ายเซลฟี่คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
·         เมื่อเทียบกับชิปประมวลผล อินเทล® 4004 ซึ่งเป็นชิปรุ่นแรกของอินเทล จะพบว่าชิปเทคโนโลยี 14 นาโนเมตร ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงกว่าถึง 3,500 เท่า ใช้พลังงานคุ้มค่ากว่า 90,000 เท่า และมีราคาถูกกว่าถึง 60,000 เท่า
อย่างไรก็ดี กฎของมัวร์ไม่ใช่กฎที่เป็นไปตามธรรมชาติ หากแต่เป็นเป้าหมายที่เราต้องรวมพลังกันเพื่อก้าวไปให้ถึง ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถเอาชนะอุปสรรคทางฟิสิกส์ให้ได้ ทุกวันนี้ อินเทลสามารถผลิตทรานซิสเตอร์ได้มากถึง 10,000 ล้านตัวในทุกๆ วินาที เพื่อสร้างเป็นชิปที่ขับเคลื่อนอุปกรณ์อันสุดมหัศจรรย์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้นับพันล้านคนทั่วโลก
·         ทรานซิสเตอร์ในยุคแรกมีขนาดเท่ากับยางลบที่ปลายดินสอ แต่ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีภายใต้กฎของมัวร์ เราจึงสามารถจัดวางทรานซิสเตอร์แบบไทร-เกต (tri-gate) กว่า 6 ล้านตัวไว้ในพื้นที่เท่ากับจุดเพียงจุดเดียวบนหน้ากระดาษ
·         ปัจจุบันนี้ ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กมากจนไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยหากขยายให้ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวสามารถมองเห็นได้ ขนาดของชิปประมวลผลก็จะใหญ่เท่ากับบ้านหนึ่งหลังเลยทีเดียว


กฎของมัวร์ได้จุดประกายจิตวิญญาณแห่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม อันเป็นเครื่องผลักดันการพัฒนาทางเทคโนโลยีให้โลกของเราก้าวล้ำต่อไป โดยนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ นักวิทยาศาสตร์ แพทย์ และนักคิดมากมายจะคิดค้นสิ่งมหัศจรรย์ที่น่าทึ่งมาให้เราได้เห็นกันอีกมากมายในอนาคต
*ในปี 2514 อินเทลเปิดตัวชิปประมวลผลรุ่นแรกของโลกกับอินเทล®4004 ซึ่งในการอธิบายกฎของมัวร์นั้น เป็นการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชิปประมวลผลรุ่นดังกล่าวกับชิปประมวลผล อินเทล® คอร์™ i5 รุ่นปัจจุบัน

           
Internet of Things (IoT) คืออะไร

แอดขอรับข้อมูลดีๆ
เพิ่มเพื่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น