ข่าว ธุรกิจออนไลน์ 100%

วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ยืนยันตัวตนผ่าน Authenticator คืออะไร? ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน?

 

  • ยืนยันตัวตนผ่าน Authenticator คืออะไร? ปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน?


ไทย

ในปัจจุบัน มีข้อมูลมากมายจากหลายฝ่ายอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ตั้งแต่ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางธุรกิจ ไปจนถึงข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และแน่นอนว่าความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลหรือถูกล้วงข้อมูล (Hacking) ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกวันนี้เครื่องมือการพิสูจน์ตัวตน หรือ Authenticator จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อยกระดับความปลอดภัยในโลกดิจิทัลนั่นเอง

ดังนั้น วันนี้เรา จะมาพูดถึงการพิสูจน์ตัวตน (Authentication) พร้อมบอกให้รู้กันว่า Authenticator คืออะไร? การยืนยันตัวตนมีกี่รูปแบบ? และกล่าวถึงความสำคัญที่ Authenticator มีต่อทั้งธุรกิจและผู้บริโภคในยุคนี้


การพิสูจน์ตัวตน (Authentication) คืออะไร

Authentication คือ กระบวนการยืนยันตัวบุคคล ว่าผู้เข้ารหัสหรือผู้ใช้บริการนั้นเป็น “ตัวจริง” โดยมีการอ้างอิงจากหลักฐานที่นำมาประกอบว่าเป็นบุคคลที่ได้ระบุไว้จริงๆ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ อย่างกรณีที่เรากำลังจะซื้อของผ่านเว็บอีคอมเมิร์ซและต้องการใช้บัตรเครดิต ตัวแอปฯ จะให้กรอกเลขบัตรและรหัส CVC ที่อยู่ด้านหลังบัตร เพื่อยืนยันว่าผู้ใช้บริการมีบัตรดังกล่าวจริงๆ จากนั้นอาจจะมีการรีเควสให้เราใส่ OTP (One-Time Password) ซึ่งธนาคารจะส่งมาให้ผ่าน SMS ตามเบอร์โทรศัพท์ที่เราระบุไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้มีใครสวมรอยมาใช้บัตรเครดิตของเรานั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการพิสูจน์ตัวตนเป็นอะไรที่หลายคนคุ้นชินและเคยทำมาแล้วหลายครั้ง ถึงอย่างนั้น  ผู้เขียนจึงขออธิบายว่าแต่ละขั้นตอนมีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง

  1. Identification – การระบุตัวตนหรือแสดงตัวตนว่าเป็นใคร อย่างการใส่ Username และ Password หรือ PIN ซึ่งในตัวอย่างข้างต้น ก็คือการกรอกเลขบัตรและรหัส CVC

  2. Authentication – พอแสดงตัวตนแล้วว่าผู้ใช้บริการเป็นใคร ก็จะมีการตรวจสอบหลักฐานตามมา เพื่อพิสูจน์ตัวตนว่าเป็นบุคคลที่กล่าวอ้างจริงไหม เช่น การใช้ OTP ในตัวอย่างข้างต้น การใช้อัตลักษณ์ของบุคคล บัตรประชาชน ฯลฯ


แล้ว Authenticator คืออะไรกันแน่?


พอได้ทราบกันไปแบบเบื้องต้นแล้วว่าการพิสูจน์ตัวตนเป็นกระบวนการแบบไหน เชื่อว่าคุณผู้อ่านคงพอรู้แล้วว่า Authenticator คืออะไรกันแน่ ซึ่ง “Authenticator” แปลได้ตรงตัวก็คือ “เครื่องมือพิสูจน์ตัวตน” โดยอาจจะมาในรูปแบบซอฟต์แวร์หรือระบบที่ใช้ในธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมออนไลน์ หรือเป็นแอปพลิเคชัน Software Tokens เช่น Google Authenticator หรือ Authy เป็นต้น ไปจนถึงอุปกรณ์เข้ารหัสที่เรียกว่า Hardware Token ที่อาจจะเป็น USB Drive

ที่สำคัญคือเครื่องมือหรือซอฟต์แวร์ Authenticator จะอาศัย “ปัจจัย” หรือ “Authentication Factor” รูปแบบต่างๆ เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ซึ่งมี 3 รูปแบบที่นิยมใช้กัน ได้แก่

  • Knowledge Factor: Password, PIN (Personal Identification Number) หรือ Shared Secret (รหัสหรือข้อความที่กำหนดให้ใช้ร่วมกัน)

  • Possession Factor: สิ่งของที่ตัวผู้ใช้งานมี อย่างเช่น เลขที่บัตร เบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสที่แอปพลิเคชันสร้างมาให้เราเป็นครั้งๆ

  • Inherence Factor: ปัจจัยนี้หมายถึงข้อมูลทางชีวมิติ (Biometric) อาทิ ลายนิ้วมือ ใบหน้า ม่านตา หรือแม้กระทั่งเสียง

นอกจากปัจจัยที่ได้รับความนิยมเหล่านี้แล้ว ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่ Authenticator สามารถใช้ในการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้บริการ คือ

  • Location Factor: เป็นการใช้ข้อมูลตำแหน่งที่กำลังทำการ Login เข้าใช้บริการ โดยอาจจะอาศัย Location Tracking จากอุปกรณ์ ซึ่งอาจใช้ GPS หรือ IP Address ในการระบุตำแหน่งก็ได้

  • Time Factor: การกำหนดช่วงเวลาในการ Login เช่น สามารถเข้ารหัสได้ในช่วงเวลาไหน และช่วงเวลาไหนไม่สามารถเข้ามาได้


Two-Factor Authentication พิสูจน์ตัวตนด้วยอะไร?

คำว่า Two-Factor Authentication (2FA) หรือที่หลายคนคุ้นหูกับคำว่า “การยืนยันตัวตนแบบ 2 ชั้น” ก็เป็นการพิสูจน์ตัวตนรูปแบบหนึ่งที่ใช้ปัจจัย 2 รูปแบบ หรือ 2 ขั้นตอน เพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ ซึ่งถูกจัดให้เป็นหนึ่งในรูปแบบของ Multi-Factor Authentication (MFA) นั่นเอง

ส่วนใหญ่แล้ว 2FA ที่นิยมใช้ในประเทศไทย มักจะเป็นการจับคู่ Knowledge Factor และ Possession Factor เป็นสองขั้นตอน อย่างการเข้ารหัสผ่านหรือกรอกหมายเลข PIN จากนั้นก็จะมี SMS ส่งมาที่เบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้เรากรอกยืนยันอีกรอบ ก่อนที่เราจะสามารถเข้าใช้บริการหรือทำธุรกรรมออนไลน์ได้ ในขณะที่ MFA นั้นอาจจะมีการใช้งานทั้ง 2 รูปแบบหรือใช้ปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบของผู้ให้บริการว่าสามารถรองรับวิธีการไหนได้บ้าง


การใช้ Authenticator สำคัญอย่างไร?

ถ้าให้เปรียบเทียบว่าข้อมูล (Data) ของเราบนโลกออนไลน์เป็นบ้านหลังหนึ่ง Authenticator ก็คือแม่กุญแจที่จะทำการล็อกข้อมูลเหล่านั้น เพื่อไม่ให้ตกไปในมือของผู้ไม่หวังดีหรือแฮ็กเกอร์ (Hacker) ที่ต้องการขโมยข้อมูลของเราเพื่อผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อทั้งธุรกิจและผู้บริโภค ธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่มีการทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ ธนาคาร ผู้ให้บริการ e-Wallet และ e-Payment ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทซื้อขายหลักทรัพย์ ​​ หรือบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ล้วนต้องทำการยืนยันตัวตนของผู้เข้าใช้บริการก่อนเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้บริการดังกล่าวไม่ได้เป็นผู้ที่เข้าข่ายทุจริต ฉ้อโกง หรือเป็นผู้อื่นมาสวมรอย ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรม รักษาผลประโยชน์ของธุรกิจ และป้องกันข้อมูลของฐานลูกค้าไม่ให้ถูกขโมยออกไป เป็นการสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า นอกจากนี้ Authenticator ยังสามารถนำมาใช้ภายในองค์กรได้อีกด้วย

ในมุมของผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ แน่นอนว่า Authenticator คือแม่กุญแจที่จะล็อกบ้าน (ข้อมูล) ของเราไว้ไม่ให้ใครเข้ามาขโมยของออกไปได้ ซึ่งปัจจุบัน ทุกคนล้วนใช้งานแอปพลิเคชันที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, LINE, Shoppee, Lazada หรืออื่นๆ ซึ่งหากไม่ได้ใส่รหัสเอาไว้ หรือมีรหัสเพียงชั้นเดียว ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแฮ็ก ไม่ว่าจะเป็นการ Phishing หรือการแฮ็กผ่านบัญชีร่วมต่างๆ ซึ่งการเปิดใช้งาน Authenticator โดยเฉพาะในรูปแบบ Two-Factor Authentication จึงเป็นหนทางที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างมาก

จบกันไปแล้วกับคำถามที่ว่า “ยืนยันตัวตนผ่าน Authenticator คืออะไร?” ที่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรการความปลอดภัยที่ขาดไปไม่ได้ในยุคดิจิทัล

สำหรับผู้ประกอบการ บริษัท องค์กรที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน หรือการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ต้องการโซลูชันในการพิสูจน์ตัวตนหรือ ทำความรู้จักลูกค้า 


Can Google Authenticator be used on multiple devices?
สามารถใช้กับอุปกรณ์หลายเครื่องได้หรือไม่?
Google Authenticator is designed to be used on a single device at a time. However, you can set up Google Authenticator on multiple devices by scanning the same QR code or entering the same secret key during the initial setup process. This allows you to generate the same codes on multiple devices for added convenience and security. Keep in mind that if you do this, you should ensure that all the devices are kept secure to prevent unauthorized access to your accounts.


Google Authenticator ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับอุปกรณ์เครื่องเดียวในแต่ละครั้ง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถตั้งค่า Google Authenticator บนอุปกรณ์หลายเครื่องได้โดยการสแกนโค้ด QR เดียวกันหรือป้อนรหัสลับเดียวกันในระหว่างขั้นตอนการตั้งค่าเริ่มต้น สิ่งนี้ช่วยให้คุณสร้างรหัสเดียวกันบนอุปกรณ์หลายเครื่องเพื่อเพิ่มความสะดวกและความปลอดภัย โปรดทราบว่าหากคุณทำเช่นนี้ คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดได้รับการรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเข้าถึงบัญชีของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต



Yes, you can use Google Authenticator on multiple devices.


You can either register each as a separate authentication mechanism (depending on which service you're using an authenticator to access), or you can sync it so you get the same codes on either phone.


The former is trivial. To do the latter, you'll have to delete the existing 2fa entry if you already set it up once. Now, have both phones and when you get to the QR code part of initialization, scan it with both phones before you enter the code.


The seed is provided by the server, so now both devices will provide the same numbers at any time. Enjoy.


วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566

❌อย่าพยายามดึงสามีของคุณให้มาสนใจในสิ่งที่คุณสนใจ

 



แต่จงชวนเขามาเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ กันเถอะ
เราสอนคุณได้นะคะ



สอบถามรายละเอียดได้เลยค่ะ

หรือศึกษาเองก่อน กดที่นี่ 
หรือ กดลิ้งค์ข้างล่างนี้
https://thaimlmdiary.blogspot.com/2023/10/intro-thai-clip-1-new.html

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2566

เฟซบุ๊กลด Reach อีกครั้ง เจ้าของเพจ ต้องปรับตัวอะไรบ้าง ?

  https://www.facebook.com/1387231808035873/posts/5084452604980423/



เฟซบุ๊กลด Reach อีกครั้ง เจ้าของเพจ ต้องปรับตัวอะไรบ้าง ? - MarketThink


ถ้าใครเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ตอนนี้จะเริ่มสังเกตได้ว่าแต่ละโพสต์ของเพจนั้นมี Reach ที่ลดลงอย่างน่าตกใจ



แต่เรื่องนี้ไม่ต้องตกใจ เพราะทุกเพจกำลังเจอเหมือนกันหมด 

เนื่องจากเฟซบุ๊กกำลังปรับอัลกอริทึมครั้งใหญ่ โดยครั้งนี้จะส่งผลให้ผู้ติดตามของเพจ เห็นโพสต์ได้น้อยลงมาก


แล้วที่มาของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?


เรื่องนี้เริ่มจากเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Meta บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ได้ออกมาบอกว่า เขาจะเริ่มเน้นระบบ AI ที่เฟซบุ๊กตั้งชื่อใหม่ว่า “Discovery Engine” หรือที่แปลว่า “เครื่องยนต์แห่งการสำรวจ” โดยเฟซบุ๊กจะลงทุนในระบบนี้เป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทเลยทีเดียว


สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ เฟซบุ๊กจะแนะนำโพสต์ที่ผู้ใช้งานแต่ละคนไม่ได้ติดตาม มาแทรกระหว่างฟีด โดยเฟซบุ๊กจะใช้ระบบ AI ในการทำนายว่า ผู้ใช้งานคนนั้นน่าจะชอบโพสต์เหล่านี้


ดังนั้นเมื่อเฟซบุ๊กแนะนำโพสต์ของคนอื่นมาให้ ก็จะส่งผลให้ผู้ใช้งานเห็นโพสต์ของเพจที่ติดตามอยู่น้อยลง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


บางเพจที่มีผู้ติดตามหลักแสน อาจมีคนเห็นเพียงแค่หลักพัน

บางเพจที่มีผู้ติดตามหลักหมื่น ก็อาจมีคนเห็นเพียงแค่หลักร้อย


แล้วใครที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ?


นอกจากเฟซบุ๊กเองที่ได้ประโยชน์ จากการที่แต่ละเพจต้องบูสต์โพสต์กันมากขึ้น เพื่อเพิ่มการมองเห็นแล้ว


คนที่ได้ประโยชน์ก็น่าจะเป็น บุคคลหรือเพจที่สามารถทำคอนเทนต์ให้เกิดไวรัลได้ แม้ว่าบุคคลหรือเพจนั้น จะยังมีผู้ติดตามน้อยอยู่ก็ตาม 

ซึ่งไม่ว่าคอนเทนต์นั้น จะเป็นข่าวที่สร้างกระแสในเชิงบวกหรือเชิงลบ ก็สามารถเป็นไวรัลได้


อย่างไรก็ตาม บุคคลหรือเพจนั้น ก็จะไม่สามารถทำให้ทุกโพสต์ สามารถเข้าถึงคนได้มากไปเสียหมด 


เช่น ถ้าโพสต์ไป 100 โพสต์ เป็นไวรัลแค่โพสต์เดียว ก็จะมี Reach มากแค่โพสต์เดียว ส่วนอีก 99 โพสต์ที่เหลือ ก็จะมี Reach น้อยเช่นกัน


เรื่องนี้จะทำให้โพสต์ของแต่ละเพจ มี Reach ที่ต่างจากในอดีต ที่แต่ละโพสต์จะมี Reach เฉลี่ยเท่า ๆ กัน


มาวันนี้ โพสต์ไหนฮิตก็จะมี Reach สูงมาก 

โพสต์ไหนไม่ฮิต ก็จะมี Reach ต่ำมาก ถึงแม้ว่าเพจนั้นจะมีผู้ติดตามมากก็ตาม..


ดังนั้น เจ้าของเพจจึงต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ 

โดยสิ่งที่น่าจะต้องทำเพื่อรับมือ ก็คือ


1. เพจต้องเน้นเนื้อหาที่จะเป็นไวรัลมากขึ้น โดยโพสต์ที่มีเนื้อหาธรรมดาก็อาจเข้าถึงคนได้น้อยมาก แต่ถ้าเน้นเนื้อหาที่เป็นไวรัลสัก 1 โพสต์ ก็จะเข้าถึงคนจำนวนมาก เพื่อมาชดเชยกันได้


2. เพจอาจต้องทำเว็บไซต์เอง หรือมองหาแพลตฟอร์มใหม่ เพื่อกระจายความเสี่ยงมากขึ้น เพราะเราไม่รู้เลยว่า เฟซบุ๊กจะปรับอัลกอริทึมอะไรอีกในอนาคต..


ถ้าเพจมีช่องทางเว็บไซต์เป็นของตัวเอง หรือหาแพลตฟอร์มใหม่ที่คล้ายกับเฟซบุ๊ก เช่น Blockdit, Twitter ก็จะช่วยให้เพจมีแพลตฟอร์มสำรอง ในวันที่เฟซบุ๊กไม่เป็นมิตรกับเพจเหมือนเดิม 


ทั้งนี้ ก็ต้องแลกกับการที่เราต้องเสียเวลามากขึ้น หรือเราต้องมีทีมงานในการดูแลมากขึ้น แต่ก็ยังดีกว่าการไม่หาทางรับมือกับความเสี่ยงไว้เลย..


3. เพจต้องหาโมเดล เพื่อสร้างรายได้อื่นมากขึ้น จากเดิมที่เพจใช้เฟซบุ๊กในการโปรโมตสินค้าหรือบริการของตัวเอง หรือรอให้สปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุน


ในวันนี้เพจอาจต้องคิดหาช่องทางในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ ทั้งที่เป็น E-Commerce ในโลกออนไลน์ หรือที่เป็นร้านค้าจริงในโลกออฟไลน์ โดยมีเพจเป็นตัวช่วยทำการตลาด เพื่อทำให้รายได้ของเพจไม่ยึดติดอยู่กับเฟซบุ๊กมากเกินไป


และทั้งหมดนี้ ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่เฟซบุ๊กลด Reach และวิธีที่เราจะรับมือกับมัน

ซึ่งเราก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า เฟซบุ๊กจะปรับอัลกอริทึมอะไรอีก


แต่เราก็ต้องทำใจไว้ว่า เราต้องอยู่กับความไม่แน่นอนไปเรื่อย ๆ

และคนที่จะชนะในเกมนี้ก็คือ คนที่ปรับตัวได้ดีกว่าคนอื่นนั่นเอง..


#เฟซบุ๊ก

#Reach

#เพจ

#การปรับตัวของเพจ


—--

ถ้าเพจที่ขายของสุดท้ายย้ายไปแฟลตฟอร์มอื่น

และให้ความสำคัญกับค่าโฆษณาบนเพจน้อยลงมาก

พี่มาร์คจะเอารายได้มาจากไหนค่ะ

ยังงงกับตรรกะการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อยู่ค่ะ


------------------------

แย่มาก เห็นแก่ได้อย่างเดียว ค่าโฆษณาก็ไม่ใช่ถูกๆ ยังจะให้ผู้ใช้ดิ้นรนกันเองอีก


------------------------

เพจสำหรับการเรียนรู้ไม่น่าเหมาะกับ facebook เพราะคงไม่เป็นไวรัลได้ง่ายๆ


------------------------

ชอบอ่านคอนเทนต์ไปอ่านใน blockdit ก็ได้
ชอบดูวีดีโอ ไปดูใน YouTube ก็ได้
ชอบอ่านข่าวก็ไปอ่านใน twitterก็ได้คะ

สารภาพว่า เล่นทวิตไม่เป็น ไม่เข้าใจหลักการมันเลยค่ะ

------------------------

แพลทฟอร์มอื่นอันไหนดีแนะนำหน่อยค่ะ

ไอจี ทวิต บล้อคดิต

------------------------

บล๊อคดิต ขายของด้วยเหรอครับเพิ่งรู้เลย นั้นแอพแห่งสาระเลยนะ

มันใส่แฮทแทคร้านได้นิคับ ก็ลิ้งไปแพลทฟอร์มอื่นได้ แม้ไม่ได้โพสขายตรงๆแบบเฟสบุ้ค

อ้อโอเคร ครับ เพิ่งรู้ๆ ผมโหลดมา เพราะชอบ ลงทุนแมน

เค้ากีดกันเราทุกทางแม้แต่ตอบคอมเมนท์ยังไม่ให้ตอบ 🙃🙃

ในฐานะคนทำเพจ ยอมรับว่าเหนื่อยมากๆครับ การเข้าถึงอันน้อยนิด เมื่อเทียบกับยอดผู้ติดตาม แต่ก็เป็นบททดสอบ ถ้ายังรอดอยู่ ก็ไปต่อได้อีก

มิน่าละหลังๆชอบมีเพจแปลกๆเด้งมา และเด้งถี่มาก

เรื่องสาระมักไม่เป็นไวรัล คนจะไม่ค่อยเห็น สรุปเฟสบุ๊คต้องการเป็นสังคมที่ไร้สาระอย่างสมบูรณ์

มันน่าขรรม ยิงแอดให้คนติดตามเพจ ได้แล้ว 1000 คน
ยังมาต้องยิงแอดให้ไอ้พันคน มองเห็นอีก

จริง ใน reel (ที่ไม่ได้อยากดูแต่สาระแนโผล่มาให้เห็น) คอนเท้นโคตรตลาดล่าง
แบบผัวเมียแกล้งกันเบื่อมาก

--------------------------------
ความเท่าเทียมไม่ใช่แค่ผู้ที่มาก่อนจะดังกว่าเสมอไป มาหลังก็ดังกว่าถ้าทุ่มเทและคอนเทนท์ที่เจ๋งๆ สรุปเลย มาเพื่อปรับความสมดุล ไม่ใช่ระบบปลาใหญ่กินปลาเล็กแต่เป็นระบบปลาเล็กก็กินปลาใหญ่ได้ถ้าเจ๋งพอ เหมือนเฟสมันจะให้ทำแต่คอนเทนท์ที่ดีดีออกมาแทนคอนเทนท์ขยะ ปล. อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเทศแต่ละประเทศด้วยว่าจะนิยมบริโภคคอนเทนท์ประเภทไหน #ถ้าเป็นประเทศไทยก็น่าจะเป็นคอนเทนท์ขยะแหล่ะ ที่อัลกอริทึ่มนี้จะดันให้สูงๆ

--------------------------------
ถือว่าดีสำหรับคนใช้ทั่วไป ไม่ดีสำหรับเจ้าของเพจ

--------------------------------
ถ้าเฟสบุกเข้มงวดเกินไป สำหรับ เจ้าของเพจต่างๆ พ่อค้าเเม่ค้า อีกหน่อยอาจมีย้ายไปแพลตฟอร์มอีื่นกันเรื่อยๆครับงานนี้ คู่เเข่งที่น่ากลัวของเฟสบุก ดึงคนเข้าถึงง่ายกว่าเฟสบุกเค้ากำลังมานะครับ 555


--------------------------------
ทุกวันนี้อยากซื้อไรพิมพ์หาจากแหล่งอื่นก่อนครับเฟสแหล่งสุดท้าย จากเมื่อก่อนอยากได้ไรหาจากเฟสบุ๊คเพราะติดต่อสอบถามได้สะดวกง่ายกว่าแอพขายของต่างๆๆ

--------------------------------
Nop CG แล้วแต่ลูกค้า ลูกค้าอยู่ไหน แบรนด์ก็ต้งอยู่นั่นแหละครับ ทุกวันนี้ ads ของเฟสบุค ก็ยังเป็นตัวหลักในการทำโฆษณา แค่ต้องทำอย่างอื่นเพิ่ม

--------------------------------


--------------------------------


--------------------------------


เปรียบเทียบจุดเด่นคอนเทนต์วิดีโอสั้น

 

เปรียบเทียบจุดเด่นคอนเทนต์วิดีโอสั้น จาก
 
IG Reels, TikTok และ YouTube Shorts

 


 

ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมานี้ เราจะเห็นได้ว่าความนิยมของคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอสั้นๆ ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกระแสความฮิตนี้ได้เริ่มมาจากแพลตฟอร์มมาแรงอย่าง

1.    Tiktok ที่มียอดผู้ใช้งานแบบต่อเนื่อง (Monthly Active Users) พุ่งสูงในต้นปี 2021 อยู่ที่ 689 ล้านคน ต่อเดือน ตามมาด้วย Instagram ที่ได้ปล่อยตัวคอนเทนต์ในรูปแบบ

2.    Instagram

3.    Reels และ
4.    Youtube Shorts ตามมาค่ะ

ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ในคอนเทนต์แบบวิดีโอสั้นๆ ที่ส่วนใหญ่จะมีความยาวอยู่ที่ประมาณ 1 นาทีนั่นเองค่ะ ก่อนที่เราจะมาทำความเข้าใจความแตกต่างของคอนเทนต์นี้แต่ละแพลต์ฟอร์ม เรามาทำความเข้าใจถึงพื้นฐานของคอนเทนต์วิดีโอแบบสั้นกันดีกว่าค่ะว่ามีรูปแบบอย่างไรบ้าง
 

 

ทำไม Short VDO form ถึงเป็นที่นิยม

 

รูปแบบของวิดีโอสั้นๆ ได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีการในการนำเสนอบน Social Media ที่ทำให้เราสามารถเข้าใจข้อมูลนั้นๆ ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสาร ความสนุกสนาน เสียงเพลง และเทรนด์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดการแข่งขันบนโลกออนไลน์  จึงทำให้รูปแบบของวิดีโอสั้นๆ สามารถสื่อสารถึงกลุ่มคนได้กว้างมากยิ่งขึ้น โดยรูปแบบของการสื่อสารของวีดีโอสั้นๆนี้ สามารถทำลายรูปแบบการสื่อสารในแบบเดิมๆ ได้ โดยเฉพาะแบรนด์ที่ได้กระโดดเข้ามาสื่อสารในรูปแบบของวิดีโอสั้นๆ สามารถทำให้ผู้บริโภครู้สึกใกล้ชิด และมีส่วนร่วมกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของการเลือกใช้ Influencer หรือ รูปแบบของ Challenge ที่ทำให้แบรนด์สามารถสื่อสารออกมาในอีกแง่มุมได้อย่างน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จึงถือเป็นช่องทางในการสร้าง Awareness ได้มากยิ่งขึ้นค่ะ ในส่วนของแพลตฟอร์มที่รองรับคอนเทนต์วิดีโอในรูปแบบสั้นๆ มีหลายแพลตฟอร์มด้วยกันค่ะ

ในวันนี้ผู้เขียนจึงได้นำทั้ง
3 แพลตฟอร์มมาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมาะสม มาฝากทุกท่านกันค่ะ
รูปแบบคอนเทนต์บน Tiktok 
Tiktok เป็นแอพพลิเคชั่นสัญชาติจีน ที่ถูกเปิดตัวมาตั้งแต่ในปี 2017 และเริ่มโด่งดังในระดับโลกในปี 2019 โดยมียอดดาวน์โหลดพุ่งสูงถึงหนึ่งพันล้านครั้งค่ะ ซึ่งในประเทศไทย Tiktok เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันค่ะ  ข้อมูลจาก Google Trend แสดงจำนวนการค้นหาด้วยคำว่า Tiktok ใน Google Search ตั้งแต่ปี 2019-2021 ในประเทศไทย กลุ่มผู้ใช้งานบน Tiktok ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของแต่ละแพลตฟอร์มคือ กลุ่มผู้ใช้งานค่ะ โดยกลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่บน Tiktok อยู่ในกลุ่ม Gen Y และ GEN Z โดยมีอายุส่วนใหญ่อยู่ที่ 19-29 ปี และเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายค่ะ (ข้อมูลจาก businessofapps) ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ TikTok   มีแฮชแท็ก Challenge ใหม่ๆ เกิดขึ้นให้ผู้ใช้งานได้ร่วมสนุกกันอยู่เสมอ    มีเพลงประกอบวิดีโอให้เลือก และ สามารถลิปซิงค์เสียงหรือนำเพลงจากคอนเทนต์อื่นๆ บน Tiktok มาใช้ได้

 

สามารถ Edit วิดีโอได้ภายในแอพโดยมีทั้ง ฟิลเตอร์ แอฟเฟค การใส่ Green Screen AR Effect และลูกเล่นต่างๆ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและความน่าสนใจ  สำหรับผู้ที่สนใจสร้างสรรค์คอนเทนต์บน Tiktok สามารถดูไอเดียเพิ่มเติมได้ที่บทความ 7 เทคนิค เพิ่มความสร้างสรรค์ให้กับวิดีโอบน TikTok อัพเดตปี 2021  
TikTok เหมาะกับธุรกิจแบบไหน เป็นธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ในช่วงอายุประมาณ 16 – 30 ปี  มีความต้องการเพิ่ม Brand awareness หรือ ความเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น  สามารถอธิบายสินค้าหรือบริการให้สามารถอยู่ในรูปแบบวีดีโอในระยะเวลาสั้นๆ ได้  เป็นธุรกิจที่มีความเหมาะสมกับคอนเทนต์ประเภทให้ความสนุกสนาน หรือ คอนเทนต์ในเชิงบวก  เป็นธุรกิจที่ต้องการทดลองสิ่งใหม่ๆ และ สนุกไปกับการทำเทรนด์ใหม่ๆ บนแพลตฟอร์ม 
 
IG Reels  
IG Reels
เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ใหม่จาก Instagram ที่ถูกเปิดตัวในช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2020 เรียกได้ว่าเปิดตัวต่อจากกระแสความนิยมของ Tiktok นั่นเองค่ะ IG Reels จึงถือเป็นคู่แข่งกับ Tiktok และมีความคล้ายคลึงกันค่ะ  เนื่องด้วยรูปแบบของแพลตฟอร์ม Instagram เป็นแพลตฟอร์มที่นำเสนอคอนเทนต์ในแบบรูปภาพ เป็นส่วนใหญ่ หากผู้อ่านท่านใดที่ใช้งาน Instagram กันเป็นประจำอยู่แล้วจะทราบดีว่า Influencer บน Instagram ส่วนใหญ่เป็นการนำเสนอคอนเทนต์ภาพถ่าย ที่มีการคลุมโทนสีของภาพบนโปรไฟล์ให้ดูน่าสนใจ องค์ประกอบและมุมของภาพที่มีความโดดเด่น และมีการตกแต่งภาพอย่างมีสไตล์นั่นเองค่ะ  แน่นอนว่าผู้ใช้งานบน IG Reels เป็นกลุ่มคนกลุ่มเดียวกัน เราจึงจะเห็นได้ว่าคอนเทนต์บน IG Reels จึงเน้นเป็นภาพถ่ายประกอบเสียงเพลง หรือวิดีโอสั้นๆ ที่มีการจัดมุมภาพและองค์ประกอบที่ลงตัวไปกับเสียงเพลงนั่นเองค่ะ กลุ่มผู้ใช้งานบน IG Reels หลังจากที่เราได้ทราบถึงรูปแบบของคอนเทนต์บน IG Reels กันไปแล้ว เรามาเจาะลึกไปถึงข้อมูลของผู้ใช้งานกันค่ะ กลุ่มผู้ใช้งานบน Instagram ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ที่ 18-29 ปี โดยมีสัดส่วนสูงถึง 71% ค่ะ และมีสัดส่วนของเพศไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมีสัดส่วนของเพศชายอยู่ที่ 48.6 % และเพศหญิง 51.4 % ค่ะ (ข้อมูลจากbacklinko.com) ภาพจาก backlinko.com ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ IG Reels มีความยาวของวิดีโออยู่ที่ 15 วินาทีไปถึงจน 60 วินาที สามารถแชร์ Reels ลงไปใน Story ได้โดยจะอยู่บน Story เป็นเวลา 24 ชั่วโมง โดยผู้ใช้งานท่านอื่นๆสามารถแชร์ Reels ลงใน Story ได้ด้วยเช่นกัน จึงสามารถเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงผู้รับชมใหม่ๆได้ มีฟิลเตอร์ให้สามารถเลือกใช้ได้ในจำนวนมาก โดยเป็นฟิลเตอร์เดียวกันที่ถูกใช้งานบน Story ซึ่งฟิลเตอร์ต่างๆผู้ใช้งานสามารถสร้างขึ้นมาเอง หรือเลือกใช้งานจากฟิลเตอร์ที่ผู้ใช้ท่านอื่นๆ สร้างขึ้นมาได้   IG Reels เหมาะกับธุรกิจแบบไหน มีกลุ่มเป้าหมายหลักอยู่ในช่วงอายุประมาณ 18 – 30 ปี  มีกลุ่มเป้าหมายอยู่บน Instagram อยู่แล้วและต้องการเพิ่มช่องทางให้มีคนรู้จักมากยิ่งขึ้น (เพิ่ม Brand Awareness) ที่ต้องการนำเสนอแบรนด์หรือนำเสนอสินค้าในรูปแบบใหม่ๆ   

YouTube Shorts

 Shorts เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ใหม่ใน YouTube ที่พึ่งเปิดตัวในปีที่แล้ว โดยล่าสุดสามารถใช้งานในประเทศไทยไทยได้แล้ว สำหรับฟีเจอร์นี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มช่องทางในการมองเห็น หรือ เข้าถึงผู้รับชมใหม่ๆ บน YouTube เพราะมีหลักการการทำงานคล้ายกับ TikTok และ Reels ค่ะ  กล่าวคือเป็นฟีเจอร์ที่ถูกเพิ่มมาภายในแอปบน YouTube โดยเป็นรูปแบบวิดีโอให้เราสามารถเลื่อนขึ้น-ลง ในการรับชมคอนเทนต์อื่นๆ ตามความสนใจของเรา โดยคอนเทนต์ที่ขึ้นมาไม่จำเป็นต้องเป็นคอนเทนต์ของบุคคลที่เรากำลังติดตามอยู่ กลุ่มผู้ใช้งานบน YouTube   กลุ่มผู้ใช้งานบน YouTube ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ที่ 18-25 ปี และ ในส่วนของข้อมูลด้านเพศพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย โดยเป็นเพศชาย 62% และ เพศหญิงเพียง 32% ค่ะ โดยอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจพบว่าผู้ใช้งานบน YouTube ส่วนใหญ่เลือกใช้งานจากโทรศัพท์มือถือสูงถึง 70% ค่ะ จึงเหมาะกับการรับชมคอนเทนต์บน Shorts นั่นเองค่ะ ภาพจาก globalmediainsight.com   ข้อแตกต่างของ Youtube Shorts   คลังเพลงที่มีขนาดใหญ่กว่า: โดยทั่วไปแล้ว YouTube มีคลังเพลงที่มีขนาดใหญ่ จึงทำให้ Shorts ได้เปรียบกว่าแอปพลิเคชั่นอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกัน คือมีเพลงให้เลือกค้นหาในจำนวนที่มากกว่านั่นเองค่ะ ฟีเจอร์ Private : มีฟีเจอร์ Private ให้สามารถตั้งค่าผู้ใช้งานที่สามารถมองเห็นคอนเทนต์บน Shorts ได้ สามารถทำการแก้ไขวิดีโอหลังจากลงไปแล้วได้   Shorts เหมาะกับธุรกิจแบบไหน ธุรกิจที่มีกลุ่มลูกค้าหลักในวัยทำงานขึ้นไป เนื่องจากข้อแตกต่างที่ YouTube มีคือ สัดส่วนของผู้ใช้งานที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุที่มีจำนวนมากกว่า Instagram และ TikTok ธุรกิจที่มี Media บน Youtube อยู่แล้ว และ ต้องการเพิ่มการเข้าถึงผู้รับชมบน Youtube มากยิ่งขึ้น   เปรียบเทียบข้อแตกต่าง TikTok, IG Reels และ YouTube Shorts ที่มา www.verticalriver.co


ครบ จบที่เดียว

 

 

วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566

Contact us / ติดต่อเรา

 สวัสดีค่ะคุณที่สนใจธุรกิจ ออนไลน์



ถ้าหากคุณกำลังมองหาโอกาสการสร้างธุรกิจจากที่บ้านของคุณเอง
และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะก้าวสู่อิสรภาพทางการเงินอย่างแท้จริง
ดิฉันและทีมงานทุกคนขอยินดีต้อนรับคุณสู่ครอบครัวเดียวกับเรา

ทั้งหมดนี้คือคุณสมบัติของบุคคลที่ดิฉันกำลังมองหาเพื่อร่วมงานดิฉัน
1  มีความสนใจในธุรกิจ  Social E-Commerce และปรารถนาที่สร้างรายได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว
2. ปรารถนาความสำเร็จอย่างแรงกล้าในการทำธุรกิจและพร้อมที่จะเติบโตไปพร้อมๆกัน
3. มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้น
4. จริงจังในการทำงานและยินดีที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยวิธีการเดียวกันกับที่คุณได้เรียนรู้
5.สามารถใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอเน็ตได้ เป็นอย่างดี

ถ้าหากคุณมีคุณสมบัติทั้งหมดนี้อยู่ในตัวเอง
ดิฉันขอแสดงความยินดีด้วย เพราะคุณคือคนที่โชคดีที่จะได้ทำงานร่วมกับดิฉันและทีมงานคุณภาพของดิฉัน
ซึ่งคุณจะได้เรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างธุรกิจ ออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน
และคุณจะได้รับการสอนวิธีการทุกอย่างที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จในธุรกิจ

ถ้าหากคุณมีความพร้อมและมีคุณสมบัติตามที่กล่าวมา
คุณสามารถติดต่อดิฉันได้โดยโพสต์ ข้อความไว้ข้างล่างเลยค่ะ

หรือส่งอีเมล์ดีที่สุดค่ะ เบื่อแล้วกับขั้นตอนการกรอกส่งข้อมูลกลับไปกลับมา เรามาคุยกันตรง ๆดีกว่า เขียนเล่าประสบการณ์ของท่านและความต้องการที่จะทำธุรกิจออนไลน์ 100%
ส่งอีเมล์มาที่
หรือแอดดิฉันเพื่อขอรับข้อมูลด้านล่างนี้ค่ะ
Facebook: https://web.facebook.com/warinapunyawan

หรือ แอดไลน์ ดิฉันเลยค่ะ
กดที่นี่
https://line.me/ti/p/hM374OdCts
หรือแอดเบอร์ข้างล่างค่ะ

หรือสแกนQR-core ค่ะ