ข่าว ธุรกิจออนไลน์ 100%

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

เรื่องของคน

อดีต พระเจ้าสร้างควายก่อน
พระเจ้าบอกควาย “แกไปไถนาทุกวัน จากตะวันขึ้นจนตะวันตกดิน
กินแต่หญ้า ให้แกอยู่ได้ 60 ปี”

ควาย “ไม่เอาหรอก ทำงานหนักแทบตาย กินได้แต่หญ้า
เอา 20 ปีพอ ที่เหลือคืนพระเจ้า”
พระเจ้าตกลง

วันต่อมา พระเจ้าสร้างลิง
พระเจ้าบอกลิง “แกไปทำให้สัตว์อื่นมีความบันเทิง ทำให้สัตว์อื่นหัวเราะ
ตีลังกาให้สัตว์อื่นดู กินได้แต่กล้วย ให้แกอยู่ 20 ปี”

ลิง “ทำให้สัตว์อื่นหัวเราะ แสดงกายกรรม ตีลังกา งานหนักขนาดนี้
เอา 10 ปีพอ”
พระเจ้าตกลง


วันต่อมา พระเจ้าสร้างหมา
พระเจ้าบอกหมา “แกไปอยู่หน้าบ้าน กินของเหลือจากเจ้าของ
ให้แก 25 ปี”

หมา “เห่าทั้งวัน เอา 15 ปีพอ ที่เหลือคืนพระเจ้า”
พระเจ้าตกลง


วันต่อมา พระเจ้าสร้างคน
พระเจ้าบอกคน “แกเอาแต่นอน กิน เล่น เที่ยว ไม่ต้องทำอะไรเลย
ให้มีความสุขกับชีวิต ให้แก 20 ปี”

คน “ชีวิตมีความสบายแบบนี้ 20 ปี น้อยไป”
พระเจ้าไม่ได้พูดอะไร
คน “เอาอย่างนี้ ควายคืนไป 40 ลิง 10 หมาก็ 10 ปี ยกให้ผมแล้วกัน
ผมก็อยู่ได้ถึง 80 ปี”

พระเจ้าตกลง
คนเลยกินข้าว นอน เล่น เที่ยว 20 ปี
ที่เหลือ 40 ปี ทำงานยังกะควายเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว
ต่อมา 10 ปี ก็ทำตัวเป็นลิง บันเทิงหลาน
สุดท้าย 10 ปี เฝ้าบ้านไปไหนไม่ได้ ยังกะหมา..



วันศุกร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2558

Thai MLM Online แนะนำ.... 10 กลโกงทางอินเทอร์เน็ตเมื่อ 10 ปีก่อน (Internet Fraud)

รูปแบบของการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต 
มีลักษณะและวิธีการป้องกันโดยสรุป ดังนี้ 
1. การหลอกลวงให้ประกอบธุรกิจที่บ้าน (Work-at-Home)
 
ลักษณะการหลอกลวง:

บริษัทที่หลอกลวงจะเชิญชวนให้ผู้ต้องการประกอบธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตหรือธุรกิจด้าน
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สมัครเป็นสมาชิกเพื่อทำธุรกิจ โดยผู้บริโภคมีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์และ
สามารถ ใช้อินเทอร์เน็ตจากที่บ้านได้ และมักอ้าง ว่าธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
ในขณะที่ผู้บริโภคจะไม่ได้รับคำแนะนำในการทำธุรกิจ ไม่มีข้อมูลธุรกิจ ที่ชัดเจนหรือไม่ทราบว่าตน
อาจไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ เลยผู้ถูกหลอกลวงจะถูกเรียกเก็บเงินค่าสมาชิกหรือซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น
เพื่อเริ่มทำธุรกิจ


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนตามที่มีการกล่าวอ้าง และอาจต้องสูญเสียเงินจากการลงทุนอีกด้วย

วิธีการป้องกัน: 
ผู้ที่ต้องการลงทุนหรือต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ควรศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดของ
ประเภทธุรกิจที่จะลงทุนการจ่าย เงินค่าตอบแทนที่ผู้บริโภคจะได้รับ ที่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน
รวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่จะต้องจ่ายในการเริ่มต้นทำธุรกิจ และผู้บริโภคควรระวังไม่หลงเชื่อ
คำเชิญชวนของผู้ที่อ้างว่าเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมากภายในระยะเวลาสั้นๆ



2. การประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet Auction Fraud)
การโฆษณาขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการประมูลสินค้า ผู้ซื้อที่สนใจจะเข้าร่วมการประมูลมัก ต้องลงทะเบียนเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หลังจากนั้นจะได้รับ หมายเลขสมาชิกและรหัสผ่าน (password) ผู้ซื้อจะต้องเสนอราคาซื้อแข่งขันกับผู้ซื้อรายอื่น เมื่อเสร็จสิ้นการ ประมูลถือว่ามีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ประมูลและผู้เสนอขาย โดยจะมีการส่งข้อความทางอีเมล์ (e-mail) แจ้งให้ผู้ซื้อและผู้ขายทราบผลการประมูล และแจ้งรายละเอียดที่จะติดต่อกันได้ เพื่อให้ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและ ผู้ขายติดต่อกันในเรื่องการชำระเงินและการส่งมอบสินค้า

ลักษณะการหลอกลวง: การประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีการซื้อขายสินค้าที่ได้รับความนิยม และเป็นช่องทางการ ติดต่อซื้อขายสินค้าที่สะดวกรวดเร็ว ในรายงานสำรวจที่กล่าวมาแล้วของบางประเทศพบว่า เป็นวิธีการ หลอกลวงที่พบมากที่สุดเช่นกัน การหลอกลวงมีหลายรูปแบบ เช่น ผู้ขายไม่ส่งมอบสินค้าที่ผู้ซื้อประมูลได้ เพราะไม่มีสินค้าอยู่จริง, การหลอกลวงโดยการปั่นราคาซื้อขาย ผู้ขายหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายจะ เข้าเสนอราคาเพื่อประมูลสินค้าของตน เพื่อให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้ผู้ซื้อต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริง เป็นต้น
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: ผู้ซื้อได้ชำระค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายแล้ว แต่ยังไม่ได้รับสินค้า หรือได้รับสินค้าที่ชำรุดเสียหาย หรือเป็นสินค้า ที่มีลักษณะไม่ตรงกับที่มีการเสนอขายแต่แรก ด้านผู้ให้บริการประมูลทางอินเทอร์เน็ตเองก็อาจได้รับความ เสียหาย เพราะผู้ใช้บริการ (ผู้ซื้อและผู้ขาย) ไม่ให้ความไว้วางใจและไม่ใช้บริการวิธีการป้องกัน: ผู้ซื้อควรตรวจสอบว่าเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการด้านการประมูลทางอินเทอร์เน็ต (คนกลาง) มีวิธีการระบุตัวบุคคลที่เป็นผู้ขาย (หรือผู้ซื้อ) ดีพอหรือไม่ กล่าวคือมีการเก็บประวัติ รายละเอียดของผู้ขาย ที่สามารถติดต่อได้ หรือพิจารณาว่าผู้ให้บริการด้านการประมูลทางอินเทอร์เน็ต (คนกลาง) มีนโยบายการ ประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง

3. การให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยหลอกลวง (Internet Service Provider Scams) 

ผู้หลอกลวงจะส่งเช็คจำนวนหนึ่ง (เช่นราว 3.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ให้แก่ผู้ใช้บริการ เมื่อมีการเบิกเงินตาม เช็คแล้วก็ถือว่าผู้บริโภคตกลงที่จะใช้บริการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider - ISP) ที่ได้รับแจ้ง ในการนี้อาจจะไม่มีการแจ้งค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ และมักเป็นการทำสัญญาให้ บริการอินเทอร์เน็ตที่มีระยะเวลานาน ผู้หลอกลวงจงใจให้ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการเกิดความสับสน และเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริการนั้น กล่าวคือเมื่อผู้บริโภคเข้าทำสัญญา ดังกล่าวแล้วจะถือว่า ยินยอมตามเงื่อนไขทุกประการที่ระบุไว้ การหลอกลวงดังกล่าวนี้มักพบในประเทศที่มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หลายราย และมีบริการที่หลากหลาย


ลักษณะการหลอกลวง:
ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังอาจจะมีคำขู่ ที่กล่าวว่าถ้าหากผู้ใช้บริการ ต้องการเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสัญญา จะถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูง


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าบริการต่างๆ จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังอาจจะมีคำขู่ที่กล่าวว่า ถ้าหากผู้ใช้บริการต้องการเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดสัญญา จะถูกปรับเป็นจำนวนเงินที่สูง


วิธีการป้องกัน:
เมื่อผู้บริโภคได้รับเช็คโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนแล้ว ไม่ควรทำข้อตกลงใดๆ กับบุคคลอื่น แต่ควรศึกษา รายละเอียดของเอกสารหรือข้อตกลงที่ส่งมาโดยถี่ถ้วน ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะถูกเรียกเก็บให้ครบถ้วน และควรติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยตรง


4. การใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาต (Credit Card Fraud)

การชำระค่าสินค้า ค่าบริการทางอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมที่สุดวิธีหนึ่งคือ การชำระเงินด้วยบัตร เครดิต เนื่องจากมีความสะดวกแก่ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ผู้ซื้อสามารถชำระเงินโดยการให้ข้อมูลบัตรเครดิตคือ หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อ-สกุลของ ผู้ถือบัตร และวันหมดอายุแก่ร้านค้า ร้านค้าสามารถตรวจสอบได้เพียงว่า บัตรดังกล่าวเป็นบัตรที่ออกโดยผู้ออกบัตรจริง แต่ไม่สามารถตรวจสอบตัวบุคคลผู้ใช้บัตรได้ว่าเป็นบุคคลใด
ลักษณะการหลอกลวง: วิธีการหลอกลวงเกี่ยวกับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ตมีหลายวิธี ตัวอย่างเช่น การให้บริการดูภาพลามกอนาจารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ตามกฎหมาย สหรัฐอเมริกา) แต่ผู้บริโภคต้องแจ้งข้อมูลบัตรเครดิตให้ผู้ให้บริการทราบ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล แล้วผู้หลอกลวงจะใช้ข้อมูลนี้ไปกระทำผิดในที่อื่น


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้ถือบัตรที่เป็นผู้บริโภคถูกเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากบริษัทหรือธนาคารผู้ออกบัตร ทั้งที่ผู้ ถือบัตรไม่ได้ใช้บัตรเครดิตชำระรายการนั้นๆ เลย ซึ่งกฎหมายบางประเทศจะให้ความคุ้มครองผู้ถือบัตร ในกรณีนี้ หรือผู้ถือบัตรรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างผู้ออกบัตรและผู้ถือบัตร


วิธีการป้องกัน: ผู้ถือบัตรเครดิตไม่ควรแจ้งข้อมูลบัตรเครดิตให้บุคคลอื่นทราบ แต่หากต้องมีการชำระเงินด้วยบัตร เครดิต ทางอินเทอร์เน็ต ก็ควรเลือกร้านค้าที่มีความน่าเชื่อถือ หรือมีหลักแหล่งที่แน่นอนสามารถติดต่อได้ หรือผู้บริโภคอาจเลือกใช้บัตรที่มีวิธีการตรวจสอบตัวบุคคลผู้ใช้บัตรว่าเป็นผู้ถือบัตร เช่น การใช้รหัสประจำ ตัว (PIN) หรือรหัสใดๆ ที่ไม่ปรากฎอยู่บนบัตร แต่ถือ เป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้ถือบัตรที่ไม่เปิดเผย ให้บุคคลอื่นทราบ นอกจากนี้ ผู้ถือบัตรควรตรวจดูข้อตกลงที่ทำไว้กับผู้ออกบัตรด้วยว่ามีเงื่อนไข ความรับผิดชอบอย่างไร



5. การเข้าควบคุมการใช้โมเดมของบุคคลอื่น (International Modem Dialing/ Modem Hijacking) 
ลักษณะการหลอกลวง: 
การโฆษณาการให้บริการสื่อลามกอนาจารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ผู้ใช้บริการจะต้องติดตั้งโปรแกรม คอมพิวเตอร์เพื่อดูภาพดังกล่าวหรือเรียกว่า ‘viewer’ หรือ ‘dialer’ ของผู้ให้บริการ เมื่อผู้ใช้บริการเปิดดูภาพ ด้วยโปรแกรมข้างต้นแล้ว การทำงานของโปรแกรมดังกล่าวจะเริ่มเมื่อมีการใช้เครื่องโมเดม (modem) ในขณะเดียวกันโปรแกรมฯ จะควบคุมการทำงานของโมเดม และสั่งให้หยุดการทำงานโดยที่ผู้ใช้บริการไม่รู้ ตัว แล้วจะสั่งให้มีการต่อเชื่อมผ่านโมเดมอีกครั้งหนึ่ง โดยเป็นการใช้โทรศัพท์ ทางไกลจากที่ใดที่หนึ่ง แล้วมีการใช้อินเทอร์เน็ตอีกครั้งจากที่นั้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถดูเว็บไซต์


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: ผู้ใช้บริการจะถูกเรียกเก็บเงินค่าโทรศัพท์ทางไกลจำนวนมาก ทั้งที่ผู้ใช้บริการอาจไม่รับรู้ ซึ่งเป็นเพราะ มีบุคคลอื่นลักลอบใช้โทรศัพท์โดยอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว
วิธีการป้องกัน: ผู้ใช้บริการหรือผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงไม่ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการให้บริการใดๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูเว็บไซต์ที่มีข้อมูลภาพลามกอนาจาร และควรตรวจสอบเงื่อนไข และค่าใช้จ่ายต่างๆ ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ต้องแจ้งระงับการใช้งานกับผู้ให้บริการทันที นอกจากนั้น ผู้ใช้บริการควรตรวจสอบใบแจ้งหนี้ค่าบริการโทรศัพท์อย่างสม่ำเสมอ



6. การหลอกลวงให้ใช้บริการเกี่ยวกับเว็บไซต์ (Web Cramming)

ลักษณะการหลอกลวง:
การหลอกลวงว่ามีการให้บริการเปิดเว็บเพจ (web page) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่นการเปิดเว็บเพจ เป็นเวลา 30 วัน และไม่มีข้อผูกพันใดๆ ถ้าไม่ใช้บริการต่อไป


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: เมื่อมีการตกลงใช้บริการดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้บริการจะถูกเรียกเก็บเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ หรือค่าใช้ บริการในการมี เว็บเพจ (ค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่) เป็นจำนวนมาก ทั้งๆ ที่ตนไม่เคยใช้บริการ หรือไม่ได้สมัคร แต่อย่างใด ผู้ใช้บริการยังไม่ สามารถแจ้งให้ผู้ให้บริการยกเลิกได้ทันทีอีกด้วย
วิธีการป้องกัน:
ผู้บริโภคควรตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้บริการ และเลือกใช้บริการที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น (กรณีนี้มักพบใน ประเทศที่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์จำนวนมากเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น) 


7. การหลอกลวงโดยใช้การตลาดหรือการขายแบบตรง (Multilevel Marketing Plans/ Pyramids)

ลักษณะการหลอกลวง: การหลอกลวงในลักษณะนี้คล้ายคลึงกับการนำสื่อโฆษณาในการทำตลาดหรือการขายตรง โดยมีการ
ชักชวนให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเครือข่ายธุรกิจ โดยการกล่าวอ้างว่าผู้ขายจะได้รับสิทธิในการจำหน่ายสินค้าหลายชนิด และได้รับผลประโยชน์จากการขายสินค้าหรือชักชวนบุคคลอื่นเข้ามาเป็นตัวแทนขายตรงเป็นทอดๆ ทำให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จริงมีจำนวนน้อยราย


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: ผู้บริโภคที่เข้าร่วมเครือข่ายจะต้องชำระค่าสมาชิกจำนวนหนึ่ง แต่จะไม่มีรายได้ประจำแต่อย่างใด
รายได้ของผู้บริโภคจึงไม่แน่นอนและมักจะไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ผู้หลอกลวงกล่าวอ้าง เพราะไม่
สามารถขายสินค้าได้ตามเป้าหมาย


วิธีการป้องกัน: ผู้บริโภคควรระมัดระวังในการสมัครเป็นสมาชิกหรือตัวแทนจำหน่ายสินค้า ที่ต้องหาสมาชิกรายอื่น
เพิ่มขึ้นหรือต้อง จำหน่ายสินค้าที่มีราคาค่อนข้างสูงให้ได้ตามยอดจำหน่ายที่กำหนด เพราะอาจถูก
หลอกลวงได้ 

8. การหลอกลวงโดยเสนอให้เงินจากประเทศไนจีเรีย (Nigerian Money Offers)

ลักษณะการหลอกลวง: ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้รับข้อความจากจดหมายหรืออีเมล์ (e-mail) จากบุคคลที่กล่าวอ้างว่ามีความ
สำคัญในประเทศไนจีเรีย เพื่อขอช่วยเหลือในการโอนเงินจำนวนมากไปยังต่างประเทศ โดยผู้บริโภคจะได้รับเงินส่วนแบ่ง จำนวนนับล้านเหรียญ ดอลลาร์สหรัฐฯ

ข้อความในจดหมายหรืออีเมล์มีเนื้อหาทำนองว่า ประชาชนในประเทศไนจีเรียไม่สามารถเปิด
บัญชีเงินฝากในต่างประเทศ หรือโอนเงินออกนอกประเทศที่มีมูลค่าราว 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้
หรือรัฐบาลไนจีเรียต้องการทำธุรกิจกับชาวต่างชาติ จึงต้องการความช่วยเหลือจากชาวต่างชาติในการ
เปิดบัญชีเงินฝากประเภทกระแสรายวันที่เบิกด้วยเช็ค ซึ่งท่านจะได้รับค่า ตอบแทนหรือค่านายหน้า
ผู้บริโภคเพียงแต่แจ้งรายละเอียดของบัญชีเงินฝากของตน และกรอกเอกสารพร้อมทั้งลงลายมือชื่อ
ของเจ้าของบัญชีเท่านั้น


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: เมื่อมีการแจ้งข้อมูลบัญชีเงินฝากแล้ว ผู้บริโภคจะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการ
ดำเนินการตลอดเวลา โดยให้ผู้บริโภคโอนเงินเข้าบัญชีที่แจ้งไว้ ผู้ที่หลอกลวงจึงสามารถเบิกเงินจาก
บัญชีดังกล่าวได้ โดยอ้างเอกสารมอบอำนาจของเจ้า ของบัญชี แต่การโอนเงินลักษณะนี้อาจทำไม่ได้
ในประเทศไทย เว้นแต่จะเป็นการโอนเงินระหว่างบัญชีของธนาคารเดียวกัน ทางอินเทอร์เน็ต


วิธีการป้องกัน:
ผู้บริโภคไม่ควรหลงเชื่อบุคคลอื่นที่อ้างตัวและเสนอจะให้ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลโดยไม่มี
ความเสี่ยงเช่นนี้ และ ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลบัญชีธนาคารของตนแก่ผู้อื่นด้วย


9. การหลอกลวงให้จดทะเบียนโดเมนเนม (domain name registration scams) 



ลักษณะการหลอกลวง: ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจทางอินเทอร์เน็ตที่ต้องการมีเว็บไซต์และโดเมนเนมของตนเอง จะได้รับ
การเสนอแนะว่าท่านสามารถได้รับสิทธิในการจดทะเบียนโดเมนเนมในระดับบนที่เรียกว่า
“Generic Top-Level Domain’ หรือ gTLD ได้แก่ .com, .org, .net, .int, .edu, .gov,
.mil, .aero, .biz, .coop, .info, .museum, .name, and .pro เป็นต้น ก่อนบุคคลอื่น
และถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจองโดเมนเนมที่ต้องการ ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีการให้บริการ
ในลักษณะดังกล่าว


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้:
ผู้ที่หลงเชื่ออาจได้รับความเสียหายเพราะได้ชำระเงินให้แก่ผู้ที่หลอกลวง โดยไม่ได้รับสิทธิหรือ ประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง


วิธีการป้องกัน: หลีกเลี่ยงการใช้บริการการขอจดทะเบียนโดเมนเนมล่วงหน้า ที่ให้การรับรองว่าจะได้รับสิทธิ ในการเลือกโดเมนเนมประเภทนี้ (gTLD) ก่อนบุคคลอื่น และไม่ควรหลงเชื่อคำโฆษณา ควรติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการยื่นขอจดทะเบียนจากผู้รับจดทะเบียนที่ได้รับสิทธิภายใน ประเทศหรือเว็บไซต์ของ ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) (www.icann.org) ควรใช้บริการจดทะเบียนโดเมนเนมกับหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, บริษัทที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือใช้บริการของ “ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายแห่งประเทศไทย” (Thailand Network Information Center – THNIC) (
www.thnic.net

10. การหลอกลวงโฆษณาหรือขายยามหัศจรรย์ (miracle products) 

ลักษณะการหลอกลวง: การโฆษณาหรือขายยาทางอินเทอร์เน็ตที่อ้างสรรพคุณว่าสามารถรักษาโรคหรืออาการ
เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง, โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV/AIDS), โรคความดัน
โลหิตสูง ฯลฯ หรือสามารถบรรเทาความเจ็บป่วยได้ภายในระยะเวลาอันสั้น และมักอ้างว่ายาเหล่านี้
ได้รับการรับรองหรือการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว


ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้: ผู้ป่วยที่ซื้อยาดังกล่าวโดยเชื่อว่าสามารถรักษาความเจ็บป่วยได้ อาจต้องสูญเสียเงินหรือ
โอกาสในการได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากนั้น ยังอาจได้รับอันตรายจากการใช้ยาเหล่านั้นด้วย


วิธีการป้องกัน: การใช้ยารักษาโรคควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น


แหล่งข้อมูล

National Fraud Information Center, Internet Fraud Statistics (2001-2000),
http://www.fraud.org/internet/2001stats10mnt.htm
National Fraud Information Center, Six-Month Data Trends Report May-November 2000
http://www1.ifccfbi.gov/strategy/6monthreport.pdf
Federal Trade Commission, Operation Top Ten Dot Cons (October 2000),
http://www.ftc.gov
Ministry of Consumer Affairs, Scam Watch!,
http://www.ecommerce.or.th/project/fraud/index.html

วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

กลโกงในการหลอกขายสินค้าออนไลน์

ระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มีความฉลาดอย่างมากในการดักจับข้อมูลของผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้เองไม่รู้ตัว ด้วยกลไกของระบบการตลาดทำให้มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการเก็บข้อมูลของผู้บริโภคผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย เช่น บน facebook ก็จะทราบว่าผู้ใช้งานรายนี้เคย search หาข้อมูล หรือกด Like แฟนเพจเกี่ยวกับเรื่องอะไร เป็นลูกค้าของกลุ่มสินค้าอะไร มีความสนใจด้านไหน ก็จะขึ้นโฆษณาที่ตรงกับความสนใจของผู้บริโภครายนั้น เช่นเดียวกับระบบอีเมลสาธารณะก็มีการโฆษณาตามข้อมูลความสนใจของผู้บริโภค หรือแม้แต่เว็บไซต์แหล่งสืบหาข้อมูล (search engine) เช่น Google ก็จะเก็บข้อมูลของการค้นหาข้อมูลของผู้ใช้งานเช่นกัน ว่า search หาข้อมูลเกี่ยวกับอะไร จึงเป็นโอกาสที่มิจฉาชีพจะสืบค้นข้อมูลได้ว่ากลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการ หรือความสนใจในสินค้าประเภทนี้มีใครบ้าง และก็ฉวยโอกาสในการโกงได้ ซึ่งวงจรของกลโกงที่มิจฉาชีพร้านขายสินค้าปลอมมักจะใช้เพื่อหาเหยื่อนั้นมี 6 ขั้นตอน ได้แก่
  1. มิจฉาชีพจะติดต่อหาเหยื่อที่กำลังต้องการสินค้า โดยแฝงตัวไปอยู่ในกลุ่มแฟนเพจ หรือเปิดเว็บไซต์ปลอมและแอบโฆษณาแฝงผ่านแฟนเพจต่างๆ ที่มีผู้ชมเป็นจำนวนมาก เช่น แฟนเพจดารา คนดัง เป็นต้น และทำให้คนเห็นและสนใจติดต่อกลับไปหา
  2. สร้างความเชื่อถือด้วยภาพสินค้า และหลักฐานปลอมเพื่อระบุตัวตน ซึ่งจริงๆ แล้วอาจเป็นภาพที่หาได้บนอินเทอร์เน็ต การเขียนข้อความ Review ปลอมขึ้นมา เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ และใส่ข้อมูลของชื่อผู้ขายปลอม ช่องทางการติดต่อต่างๆ ที่ชัดเจนเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ ซึ่งเคยมีกรณีที่ผู้ขายหลอกขายตุ๊กตาเฟอร์บี้โดยแอบอ้างว่าเป็นดารามาแล้ว และมีเหยื่อที่หลงเชื่อเป็นจำนวนมาก
  3. หว่านล้อมให้เหยื่อยอมโอนเงินค่าสินค้า หากเหยื่อรู้สึกว่าราคาถูกจนผิดปกติ หรือ รู้สึกไม่ไว้วางใจ มิจฉาชีพก็จะพยายามพูดโกหกเพื่อตอบข้อสงสัยของเหยื่อ เช่น บอกว่าขายราคาถูกเพราะไม่มีค่าลงทุนในการเปิดเว็บไซต์ เน้นรับมาจากแหล่งผลิตและขายให้กับผู้บริโภคเลย เป็นต้น จนเหยื่อยอมโอนเงินค่าสินค้าให้
  4. ส่งสินค้าปลอมให้เหยื่อ หรือในกรณีที่แย่ที่สุด คือไม่ส่งสินค้าใดๆ ให้เลย หลังจากได้รับเงินแล้ว มิจฉาชีพก็จะถือว่าเหยื่อติดกับแล้ว และเตรียมการหลบหนี
  5. ปิดช่องทางการสื่อสาร และหลบหนี  ลบข้อมูลทุกอย่างทิ้ง ปิดเบอร์โทรศัพท์ ลบอีเมลทิ้ง และหลบหนีปกปิดตัวตนของตน ทำให้เหยื่อติดต่อกลับไม่ได้ และเริ่มรู้ตัวว่าถูกหลอกแล้ว จะแจ้งตำรวจก็ค่อนข้างยากในการหาหลักฐานต่างๆ
  6. เปลี่ยนชื่อ หลักฐาน เริ่มวงจรหลอกลวงใหม่
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้แถลงการณ์ถึงการร้องเรียนของผู้บริโภคในเรื่องปัญหาการใช้บริการของธุรกิจออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีจำนวนกว่า 200-300 รายที่ได้ร้องเรียนปัญหาจากการตกเป็นเหยื่อของการซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งส่วนมากที่พบจะเป็นกลุ่มของสินค้าประเภทของแบรนด์เนมที่มีราคาแพง โดยเฉพาะกระเป๋า รองเท้า นาฬิกา และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกซ์ ซึ่งขายในราคาถูกกว่าราคาท้องตลาด ผู้ที่ร้องเรียนประสบปัญหากับการได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ คุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณา ได้สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อหรือไม่ตรงกับที่ต้องการ และที่แย่ที่สุดก็คือไม่ได้รับสินค้าเลย (มี.ค. 2557 เว็บไซต์ ch3.sanook.com) ผู้บริโภคที่ฉลาดรู้ ฉลาดซื้อ อย่าหลงเชื่อโฆษณาเพียงเพราะสินค้าราคาถูก เพราะบางครั้งของถูกอาจจะไม่ใช่ของดีเสมอไป และควรระมัดระวังกลโกงในการซื้อของออนไลน์เอาไว้ด้วย
หากตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงผ่านการซื้อขายออนไลน์ สามารถคลิกแจ้ง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) 
ที่อยู่ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ชั้น 5 ถนนแจ้งวัฒนะ ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
ข้อมูลการติดต่อ : โทรศัพท์ 1166
ลิงค์หน่วยงาน : http://www.ocpb.go.th/
อีเมลติดต่อ : consumer@ocpb.go.th