ลองพิจารณา ธุรกิจ payall ของ ฟิมล์ รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ โดยข้อสงสัย
แบ่งเป็นข้อ ๆ นะคะ
1. ฟิล์ม รัฐภูมิ , อ.สมคิด ลวางกูร , (หน่อง) ธนาเดช 3 บุคคลนี้ เคย เป็นผู้บริหาร กับ topup2rich ที่โดนฟ้อง แชร์ลูกโซ่ไป แต่ทำไมถึงไม่โดนดำเนินคดี แล้วมา ทำงานกับ บริษัท payall ต่อ พร้อมยัง ชักชวนคนอีกเป็นจำนวนมาก (ขอถามผู้มีความรู้ ค่ะ ทำไมบุคคลพวกนี้ถึงไม่โดนดำเนินคดี อันนี้เราไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมายตรงนี้ค่ะ หรือว่าข้อกฎหมายมีช่องโหว่ ให้บุคคลพวกนี้เล็ดลอดมาได้คะ)
ลิ้ง ของ ฟิล์ม ตอนเซ็นสัญญา กับ topup2rich https://www.youtube.com/watch?v=C38kd7Ep4wI
ลิ้ง ของ หน่องธนาเดช ตอนอยู่ topup2rich https://www.youtube.com/watch?v=_eYElX65qqI
ลิ้ง ของ อ.สมคิด ตอนจับมือกับ topup2rich https://www.youtube.com/watch?v=Ba3A5j0oMv0
2. ลักษณะการทำธุรกิจของ payall คือ จะให้ชวน คนต่อๆไป โดยมีค่าสมัคร 3200 บาท ค่ะ โดยอ้างว่า เป็นค่า สมัครเพื่อใช้บริการระบบ แต่ในจำนวนเงินนี้ ได้แบ่งเป็นค่าคอมมิชชั่น ให้แก่ผู้แนะนำ และ กินกันเป็นทอดๆ
3. ทางบริษัท มีการโฆษณาเรื่องจำนวน รายได้ ที่มากเกินความเป็นไปได้ (สูงสุดถึงวันละ 2 ล้านบาทเน้นย้ำ วันละ นะคะ)
และช่วงนี้ประชาชน เริ่มมีการชักชวน กันอย่างแพร่หลาย จึงสงสัยว่า payall ใช่ แชร์ลูกโซ่หรือไม่ เพราะ รายได้ของบริษัท ที่บอกว่ามาจากการใช้จ่ายนั้น เป็นเพียงจำนวนเงินที่ไม่มากนัก แต่กลับสวนทางกับ รายได้ ในแต่ละเดือนของผู้ที่แนะนำ หรือ ชักชวน ประชาชนค่ะ ทั้งนี้ ฟิลม์ รัฐภูมิ ที่เป็นดารา ซึ่งเป็นที่รู้จักในสังคม และ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงอาจใช้จุดนี้เพื่อสร้างความมั่นใจ และ ไว้ใจ แก่ประชาชน มิหนำซ้ำยังยืนยันด้วย ใบรับรองจาก สคบ. และ DSI เนื้อหาจจากลิ้งนี้ ค่ะ http://payallapplications.blogspot.com/2016/02/payall.html
อันนี้ลิ้งข่าวที่ สคบ. เล็ง Payall
http://www.nakkhai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=554:2016-09-15-07-29-38&catid=32:network-content&Itemid=60
กระทู้นี้มี ความคิดเห็นจาก สมาชิกพันธ์ คนอื่น ๆด้วยค่ะ
http://pantip.com/topic/34690552
1. ฟิล์ม รัฐภูมิ , อ.สมคิด ลวางกูร , (หน่อง) ธนาเดช 3 บุคคลนี้ เคย เป็นผู้บริหาร กับ topup2rich ที่โดนฟ้อง แชร์ลูกโซ่ไป แต่ทำไมถึงไม่โดนดำเนินคดี แล้วมา ทำงานกับ บริษัท payall ต่อ พร้อมยัง ชักชวนคนอีกเป็นจำนวนมาก (ขอถามผู้มีความรู้ ค่ะ ทำไมบุคคลพวกนี้ถึงไม่โดนดำเนินคดี อันนี้เราไม่มีความรู้ทางด้านกฎหมายตรงนี้ค่ะ หรือว่าข้อกฎหมายมีช่องโหว่ ให้บุคคลพวกนี้เล็ดลอดมาได้คะ)
ลิ้ง ของ ฟิล์ม ตอนเซ็นสัญญา กับ topup2rich https://www.youtube.com/watch?v=C38kd7Ep4wI
ลิ้ง ของ หน่องธนาเดช ตอนอยู่ topup2rich https://www.youtube.com/watch?v=_eYElX65qqI
ลิ้ง ของ อ.สมคิด ตอนจับมือกับ topup2rich https://www.youtube.com/watch?v=Ba3A5j0oMv0
2. ลักษณะการทำธุรกิจของ payall คือ จะให้ชวน คนต่อๆไป โดยมีค่าสมัคร 3200 บาท ค่ะ โดยอ้างว่า เป็นค่า สมัครเพื่อใช้บริการระบบ แต่ในจำนวนเงินนี้ ได้แบ่งเป็นค่าคอมมิชชั่น ให้แก่ผู้แนะนำ และ กินกันเป็นทอดๆ
3. ทางบริษัท มีการโฆษณาเรื่องจำนวน รายได้ ที่มากเกินความเป็นไปได้ (สูงสุดถึงวันละ 2 ล้านบาทเน้นย้ำ วันละ นะคะ)
และช่วงนี้ประชาชน เริ่มมีการชักชวน กันอย่างแพร่หลาย จึงสงสัยว่า payall ใช่ แชร์ลูกโซ่หรือไม่ เพราะ รายได้ของบริษัท ที่บอกว่ามาจากการใช้จ่ายนั้น เป็นเพียงจำนวนเงินที่ไม่มากนัก แต่กลับสวนทางกับ รายได้ ในแต่ละเดือนของผู้ที่แนะนำ หรือ ชักชวน ประชาชนค่ะ ทั้งนี้ ฟิลม์ รัฐภูมิ ที่เป็นดารา ซึ่งเป็นที่รู้จักในสังคม และ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จึงอาจใช้จุดนี้เพื่อสร้างความมั่นใจ และ ไว้ใจ แก่ประชาชน มิหนำซ้ำยังยืนยันด้วย ใบรับรองจาก สคบ. และ DSI เนื้อหาจจากลิ้งนี้ ค่ะ http://payallapplications.blogspot.com/2016/02/payall.html
อันนี้ลิ้งข่าวที่ สคบ. เล็ง Payall
http://www.nakkhai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=554:2016-09-15-07-29-38&catid=32:network-content&Itemid=60
กระทู้นี้มี ความคิดเห็นจาก สมาชิกพันธ์ คนอื่น ๆด้วยค่ะ
http://pantip.com/topic/34690552
================================================
ฟิล์ม กับ Pay All
ฟิล์ม หรือ รัฐภูมิ โตคงทรัพย์ ดาราและนักร้องชื่อดัง กลับมาเป็นข่าวใหญ่อีกครั้ง เมื่อศาลอาญาพิพากษาว่า ฟิล์มมีความผิด ต้องได้รับโทษอาญาจากการประกอบธุรกิจแอพพลิเคชั่น (Application) Pay All ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นรายจ่ายด้านการศึกษา การคมนาคม ค่าเดินทาง ค่าขนส่งต่าง ๆ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์ บัตรเครดิต บัตรเงินสด ประกันภัย ประกันชีวิต และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่สำคัญการใช้จ่ายนั้น ๆ ไม่ได้เสียเปล่า แต่สามารถเปลี่ยนเป็นรายได้กลับคืนมาสู่ผู้ใช้บริการด้วย และหากใครสมัครสมาชิก VIP จะมีค่าสมัครปีละ 4,900 บาท โดยจะมีแต้ม (Point) สะสมทุกการใช้จ่าย
คดีนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) ได้แจ้งความร้องทุกข์เอาผิดกับบริษัท ที่ฟิล์มเป็นประธานบริหาร ฐานให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) ด้วยการเติมเงินล่วงหน้าและนำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ประกอบพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2551 และประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ประกอบประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์)
การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) ผ่าน Pay All ที่ได้ยื่นขออนุญาตต่อ ธปท. เป็นการยื่นผิดประเภท ทาง ธปท. จึงได้แจ้งให้ดำเนินการยื่นขออนุญาตใหม่แต่ไม่ดำเนินการ ก่อนจะพบว่า บริษัทนี้ได้ดำเนินธุรกิจไปก่อนได้รับอนุญาต
นอกจากนี้ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เพราะตอนยื่นจดทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นบริษัทขายตรง แต่ได้ดำเนินธุรกิจผิดจากแบบที่แจ้งไว้ จึงถูกทาง สคบ. ดำเนินคดีและเปรียบเทียบปรับ
บริษัทที่ประกอบธุรกิจ Pay All มีทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท ประกอบธุรกิจให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) แต่ตามหลักเกณฑ์การให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) ของ ธปท. ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 200 ล้านบาท ต้องแยกบัญชีเงินลูกค้ากับบัญชีเงินของบริษัท และต้องชี้แจงโครงสร้างองค์กรและแผนธุรกิจชัดเจนในระยะ 3 ปี เป็นต้น
สำหรับลูกค้าและผู้ที่เคยชำระค่าสินค้าผ่าน Pay All จะพบว่าสินค้าที่ร่วมรายการจะมีราคาถูกกว่าตามที่ขายในห้างสรรพสินค้า เมื่อจ่ายค่าบริการผ่าน Pay All ซึ่งสามารถชำระได้ตลอดเวลา ผู้ให้บริการจะหักค่าบริการไว้เพียง 5 บาท / ใบเรียกเก็บ 1 ใบ และจะมีแต้มสะสม (Point) เพื่อเอามาแลกเงิน การชวนเพื่อนมาสมัครเป็นสมาชิกจะมีค่าแนะนำสมาชิกให้ ซึ่งการให้บริการแบบนี้เคยมีคนทำธุรกิจก่อนแล้วเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้ทำผ่านแอปพลิเคชั่นแบบ Pay All และจะใกล้เคียงกับแชร์ลูกโซ่ที่มีการแนะนำสมาชิกไปเรื่อยๆ คนที่หาสมาชิกได้มากจะอยู่ในลำดับสูง และจะมีเงินได้จากการแนะนำสมาชิกของคนที่อยู่ลำดับล่างๆ
หากเปรียบเทียบการให้บริการของ Pay All กับการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money) จะคล้ายกับรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งให้บริการอยู่ในเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา สามารถชำระค่าสินค้าได้เกือบทุกประเภท หรือการให้บริการอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้งที่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ปัจจุบันการใช้จ่ายชำระค่าสินค้า หรือการทำธุรกรรมทางการเงิน ผู้ใช้บริการต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น แอปพลิเคชั่น Pay All ได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายทุกด้าน แต่ที่เป็นปัญหาเพราะผู้ประกอบกิจการไม่ขออนุญาตให้ถูกต้อง ประกอบกับทุนจดทะเบียนที่กฎหมายกำหนดสูงถึง 200 ล้านบาท ทำให้ต้องเลี่ยงไปจดทะเบียนประเภทอื่น
กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ควบคุมธุรกิจประเภท Pay All เพราะเมื่อเปิดดำเนินการ ย่อมต้องให้บริการและเกี่ยวข้องกับคนเป็นจำนวนมาก ต้องมีทุนจดทะเบียนสูง เพราะต้องการให้บริษัทหรือผู้ประกอบกิจการมีความมั่นคง ถ้าทุนจดทะเบียนน้อยเกินไป อาจเป็นเหตุให้เลิกกิจการง่ายเกินไป ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเดือดร้อนเสียหาย
นอกจากนี้ การที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแยกบัญชีเงินลูกค้า กับเงินบัญชีของบริษัท เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการว่า จะมีเงินทุนหมุนเวียน เงินของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะไม่หายไปไหน และยังเป็นการป้องกันมิให้ผู้ให้บริการใช้เงินผิดประเภท
คดีนี้ ฟิล์มได้รับสารภาพตลอดข้อหา โดยให้เหตุผลเพียงว่า ไม่มีเจตนาและไม่ทราบว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในที่สุด ศาลอาญาได้เมตตาพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฟิล์ม 1 ปี ปรับ 100,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา รายงานตัว 1 ปี และบำเพ็ญประโยชน์ 24 ชั่วโมง
แม้ว่า ฟิล์มจะถูกพิพากษาว่า มีความผิดตามกฎหมาย แต่ถือว่า ยังชนะใจคนดูผู้ชม เพราะถือว่า เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ ไฟแรง ที่อยากจะทำธุรกิจใหม่ ๆ ที่เริ่มต้นใหม่ หรือที่เรียกกันว่า สตาร์ทอัพ (Start Up) เพียงแต่ว่า ต้องอาศัยเวลา บ่มเพาะประสบการณ์ และเรียนรู้มากกว่านี้
ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ให้แก่คนรุ่นใหม่ที่มีความตั้งใจ อย่าท้อแท้ และดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตจนประสบความสำเร็จ
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2561 (หน้า 7)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น